“มีใครไม่เคยก่อกรรมทำชั่วในโลกนี้ มีใครบ้าง ได้โปรดแสดงตัวออกมา"
เมื่อเราเป็นมนุษย์ เราย่อมต้องเคยทำผิดหรือทำบาปอะไรมาบ้างล่ะ..ไม่มากก็น้อย ด้วยเหตุนี้ ศาสนาทุกศาสนาจึงมีการสารภาพบาป หรือสำนึกบาปอย่างจริงใจ และตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่ทำบาปเช่นนั้นอีก ทั้งนั้น การสารภาพบาปไม่ใช่เพื่อล้างบาป แล้วไม่ต้องรับผลกรรมนะครับ การล้างบาปแบบนั้นไม่มี เป็นการเขียนบิดเบือนคำสอนของศาสดาของศาสนานั้นกันเอาเองในภายหลัง ศาสดาเขาสอนมาดี แต่หลังๆ มีการเพิ่มเติมกัน ทำให้ผิดเพี้ยนจากความจริงไปเยอะ
จริงอยู่ บาป ล้างกันไม่ได้ แต่...สำนึกบาปและสารภาพ ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่ทำบาปเช่นนั้นอีก สิ่งนี้ทำได้ เมื่อเราสำนึก สารภาพ และตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่ทำผิดบาปเช่นนั้นอีก วิบากกรรมหรือผลกรรมของบาปที่จะนำเราไปสู่นรกย่อมไม่มี แต่ วิบากกรรมหรือผลกรรมทางโลกยังต้องมีอยู่ตามกฎแห่งกรรม เพียงแต่ผลกรรมบนโลกนั้นจะเบาบางลงเท่านั้น นี่แหละคือคำตอบของการแก้กรรมหนีนรกในทุกศาสนา
ตัวอย่าง
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม ในวัยเด็กท่านเคยฆ่าไก่ตายเป็นจำนวนมากด้วยการหักคอไก่ ต่อมาหลังจากท่านมาบวชเป็นพระแล้ว ท่านก็สำนึกในบาปกรรมที่เคยได้ทำในวัยเด็ก
ที่สำคัญ ท่านก็รู้ในจิตของท่านจากการปฏิบัติกรรมฐานด้วยว่า เหล่าวิญญาณไก่ที่เป็นเจ้ากรรมนายเวรของท่านตามมาทวงหนี้กรรมแล้ว และท่านก็ต้องรับผลกรรมนั้น โดยหลวงพ่อจรัญ ต้องคอหักตายในวันที่ 14 ตุลาคม 2521
และแล้ว.....เหตุการณ์นั้นก็เกิดขึ้นจริงๆ ท่านรถคว่ำ คอของหลวงพ่อหัก แต่ทว่า หลวงพ่อจรัญ ท่านไม่ตายครับ อยู่ต่อมาถึงทุกวันนี้ให้เราได้กราบไหว้ เป็นผลมาจากการสำนึกบาปหรือการก้าวล่วงกรรมของท่าน ทำให้วิบากกรรมของท่านนั้นเบาบางลงนั่นเอง
ถามว่า.....แล้วหลวงพ่อจรัญต้องไปรับกรรมต่อในนรกไหมครับ?ต้องดูที่พระพุทธเจ้าบอกกับพระองคุลิมาล เมื่อพระองคุลิมาล (แม้ว่าจะสำนึกผิดแบบเด็ดขาด และตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่ฆ่าคนอีก) แต่ท่านก็ยังต้องได้รับผลกรรมทางโลกอยู่บ้างแต่น้อยมาก คือ เมื่อท่านไปบิณฑบาต ท่านได้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี ถูกประชาชนขว้างปาด้วยก้อนอิฐ ก้อนหิน และท่อนไม้ จนศีรษะแตก เลือดไหล บาตรก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ขาดวิ่น
= ต้องรับเศษกรรมด้วย เพราะเราไปทำกับขันธ์ 5 (กาย) คนอื่น จึงต้องรับผลกรรมในขันธ์ 5(กาย)ของเราตามกฎแห่งกรรม แต่ทว่ากรรมนั้นเบาบางลงมาก เป็นเศษกรรม
พอมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า
"กรรมที่จะให้ผลไปหมกไหม้ในนรกเป็นเวลาหลายหมื่นหลายแสนปี เป็นอันท่านได้รับผลในปัจจุบัน" (รับเศษกรรมไปแล้วจากการโดนทำร้ายบนโลก จึงไม่ต้องรับกรรมใดๆอีกในปรโลก)
ในพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ ข้อ 413 พิธีอุทยคามินีของพราหมณ์
ปัญหา นายคามณี อสิพันธกบุตรกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า นิครนถ์นาฏบุตรสอนว่า ใครก็ตามที่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม และพูดเท็จ จะต้องเข้าถึงอบายและนรกอย่างแน่นอน กรรมใดที่คนทำเป็นส่วนมากจนเป็นนิสัย จะนำเขาเข้าสู่นรก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นอย่างไร ?
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า:
"ดูก่อนนายคามณี ท่านจะเห็นความข้อนั้นเป็นอย่างไร บุรุษผู้ฆ่าสัตว์ ถือเอาของที่เขามิได้ให้ ประพฤติผิดในกาม เป็นผู้กล่าวเท็จ ในกลางคืนก็ดี ในกลางวันก็ดี รวมทั้งสมัยและมิใช่สมัยก็ดี เวลาไหนมากกว่า ? เวลาฆ่าสัตว์ หรือเวลาไม่ฆ่าสัตว์?"
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาที่เขาฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จน้อยกว่า เวลาที่เขาไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดประเวณี ไม่พูดเท็จมากกว่าโดยแท้”
“ดูก่อนนายคามณี เมื่อเป็นเช่นนี้จักไม่มีใครไปสู่อบาย ตกนรกตามคำของนิครนถ์นาฏบุตรที่ว่ากรรมใด ๆ มีมาก เขาจักถูกกรรมนั้นนำไป....(เพราะเวลาที่เราทำดีมีมากว่าเวลาที่เราทำชั่ว)
“ดูก่อนนายคามณี ส่วนพระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ทรงตำหนิการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม และพูดเท็จ และตรัสว่า จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ โดยอเนกปริยายสาวกผู้เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิปาณาติบาต และตรัสว่า จงเว้นจากปาณาติบาต สัตว์ที่เราฆ่ามีอยู่มากมาย ข้อนั้นไม่ดีไม่งาม เราพึงเดือดร้อนเพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย บาปกรรมนั้นจักเป็นอันยกเลิกไม่ได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละปาณาติบาตนั้นด้วย ย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรมก้าวล่วงบาปกรรมได้ด้วยประการอย่างนี้"
สรุป
นายคามณีเข้าใจผิดว่า การผิดศีล 5 ต้องเข้าถึงอบายภูมิและนรก อย่างแน่นอน หลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่พระพุทธเจ้ากลับตอบว่า คนที่ผิดศีล 5 ไปแล้ว ถ้าเขาทำการก้าวล่วงกรรม หรือการสำนึกบาปโดยเด็ดขาดแล้ว จะทำให้เขาไม่ต้องลงอบายภูมิและนรก จะรับเพียงเศษกรรมเก่าเท่านั้น
ในสุตตันต มัชฌิชนิกาย สัจจวิภังคสูตร 22/542-546 พระพุทธองค์ทรงตรัสแนะนำให้ก้าวล่วงออกจากกรรมเสีย โดยการกำหนดอธิษฐานจิต ตั้งใจมั่นว่า:
" กรรมนั้นๆเป็นสิ่งไม่สมควร ต่อไปนี้ตลอดไปนิรันดร เราจะไม่กระทำกรรมนั้นอีกเป็นอันขาด "
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า: (บันทึกอยู่ในอสังขาสูตร)
"เขายังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมาขังไว้ ฉะนั้น"
ให้ละวาจานั้น ให้ละความคิดนั้น ให้ละความเห็นนั้น คือ ให้ละสิ่งนี้ออกจากจิตไปเลย "เราต้องไปอบาย ต้องตกนรก" เพราะเราได้ทำการสำนึกผิด สารภาพบาป และตั้งใจแน่วแน่แล้วว่า เราจะไม่ทำบาปเช่นนั้นอีก เราจึงตกนรกไม่ได้
การสำนึกบาปในศาสนาพุทธ ผมได้เรียนชี้แจงไปแล้ว สรุปอีกครั้งหนึ่งคือพระพุทธเจ้าตรัสสอนวิธีไม่ต้องไปอบาย ไม่ต้องตกนรก เพราะการตกอบาย ตกนรก เป็นเพราะผู้ทำบาป ไม่ยอมสำนึกบาป ไม่ยอมละเลิกการกระทำบาปนั้นจากความคิด ความเห็นของตน คือไม่ยอมรับการประพฤติตามศีล 5 เมื่อมีชีวิตอยู่บนโลกนั่นเอง
ถ้าผู้ที่เคยทำบาป ยอมสำนึกบาป ยอมละเลิกการกระทำบาปนั้นอย่างเด็ดขาด เอาความคิดชั่วนั้นออกจากความคิด ออกจากความเห็นของตน คือยอมรับการประพฤติตามศีล 5 เมื่อมีชีวิตอยู่บนโลก บาปกรรมที่จะนำไปสู่อบายภูมิย่อมไม่มี ส่วนบาปกรรมที่ยังส่งผลร้ายกับชีวิตตอนที่เป็นมนุษย์ แม้ว่ายังมีอยู่ แต่ก็จะเบาบางลงมาก เช่น องคุลิมาลฆ่าคนมา 999 คน โดนแค่รุมประชาทัณฑ์นิดหน่อยเท่านั้น
จาก สุตตันต มัชฌิชนิกาย สัจจวิภังคสูตร 22/542-546 (ผมอ่านมาจากหนังสือธรรมธาตุ ธรรมชาติของสรรพสิ่ง ของคณะสังคมผาสุก เพื่อความผาสุกของสังคม หน้า 229)
ก่อนจบเรื่องการสารภาพบาปในศาสนาพุทธ ผม:
ย้ำอีกครั้ง! พระพุทธองค์ทรงตรัสแนะนำให้ก้าวล่วงออกจากกรรมเสีย โดยการกำหนดอธิษฐานจิต ตั้งใจมั่นว่า
“ กรรมนั้นๆเป็นสิ่งไม่สมควร ต่อไปนี้ตลอดไปนิรันดร
เราจะไม่กระทำกรรมนั้นอีกเป็นอันขาด ”
เมื่อเราตั้งใจแน่วแน่ดังนี้แล้ว ใจของเราจะก้าวออกจากกรรมนั้นได้
เรื่องการก้าวล่วงบาปกรรมนั้น ก็คือการสำนึกบาปอย่างจริงใจนั่นเอง สิ่งนี้เป็นการขจัดมลทินแห่งอกุศลออกไปจากจิต ทำให้กรรมดำกลายเป็นกรรมขาว และทำให้วิบากของกรรมดำที่เราเคยทำไปแล้วในอดีต ส่งผลกรรมทางโลกกับเราเบาบางลงได้ ส่วนในอบายภูมิสลายไปเลย
การสำนึกและสารภาพบาปในศาสนาอิสลาม
การสำนึกบาปในศาสนาอิสลามเรียกว่า ชะฟาอะฮฺ(การไถ่โทษ) และเตาบะฮฺ (ขออภัยโทษ)
เรื่องที่สำคัญที่ควรรู้ของชะฟาอะฮฺ(การไถ่โทษ)
ศาสนทูตแห่งอิสลาม (ซ็อล ฯ) ได้วจนะว่า
“แท้จริงชะฟาอะฮฺของฉันจำเพาะกับบรรดาผู้ที่ประกอบความผิดอุกฤษฏ์จาก ประชาชาติของฉันเท่านั้น”
สาเหตุที่ชะฟาอะฮฺ(การไถ่โทษ)ถูกเจาะจงเฉพาะความผิดบาปอุกฤษฏ์เท่านั้น เนื่องจาก อัลลอฮฺได้ทรงสาธยายไว้อย่างชัดเจนในคัมภีร์ของพระองค์ด้วยการสัญญาว่า ถ้าหากมนุษย์ ละทิ้งความชั่วอุกฤษฏ์แล้ว พระองค์จะทรงอภัยโทษจากความผิดบาปเล็กน้อยของพวกเขา (อันนิสาอ์ 4 : 31) ซึ่งพวกเขาไม่จำเป็นที่จะต้องขอชะฟาอะฮฺหรือปฏิบัติในสิ่งที่ คล้ายคลึงนี้อีกแต่อย่างใด
ด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ การชะฟาอะฮฺ(การไถ่โทษ)จะสัมฤทธิ์ผลได้เฉพาะ บรรดาผู้ที่มิได้ตัดความสัมพันธ์กับศาสนาและกับอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่ง และบุคคลผู้นั้นจะต้องมี คุณค่าคู่ควรต่อการได้รับชะฟาอะฮฺด้วย ถึงแม้ว่าพวกเขาจะแปดเปื้อนไปด้วยมลทิน ความผิดบาปบางอย่างก็ตาม แต่ด้วยบะเราะกะฮฺ (ความจำเริญ) ของชะฟาอะฮฺ เขามีสิทธิ ที่จะได้รับความเมตตาจากพระองค์เช่นกัน หลักความเชื่อในชะฟาอะฮฺได้ถูกสาธยายในคัมภีร์ อัลกุรฺอานและสุนนะฮฺ ซึ่งเราจะนำเสนอดังต่อไปนี้
ชะฟาอะฮฺที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรฺอาน
โองการจากคัมภีร์อัลกุรฺอานได้ยืนยันถึงการมีชะฟาอะฮฺ(การไถ่โทษ)ในวันกิยามะฮฺว่าขึ้นอยู่กับ การอนุมัติและความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า
“และบรรดาผู้ขอไถ่โทษไม่ได้ขอไถ่โทษแทนผู้ใด นอกจาก (ในสิทธิของ) ผู้ที่ พระองค์(อัลลอฮฺ)ทรงพอพระทัย (อนุมัติ)”
และในอีกโองการหนึ่งที่พระองค์ทรงตรัสว่า
“ไม่มีผู้ใดที่จะมีสิทธิขอไถ่โทษแทนได้ นอกจากจะได้รับอนุมัติจากพระองค์(อัลลอฮฺ)เท่านั้น”
เรื่องที่สำคัญที่ควรรู้ของเตาบะฮ์ (ขออภัยโทษ)
บาปโดยทั่วไปใช้การเตาบะฮ์(ขออภัยโทษ)เท่านั้น การเปิดประตูแห่งเตาบะฮฺ (ขออภัยโทษ) สำหรับปวงบ่าวที่ได้ประกอบความผิดบาป ถือเป็นหนึ่งในสารธรรมคำสอนอิสลาม (ยิ่งไปกว่านั้น ยังรวมถึงทุกศาสนาที่ถูกประทาน มาจากฟากฟ้าอีกด้วย) คราใดเมื่อมนุษย์ที่ประพฤติเสื่อมเสียได้รู้สึกสำนึกผิดในความชั่วช้า น่ารังเกียจที่ตนได้ประกอบไว้ จิตวิญญาณแห่งการสำนึกผิดของเขาจะเริ่มหวนรำลึกถึง พระผู้เป็นเจ้าก่อนสิ่งอื่นใด และหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวังก็จะอ้อนวอนขอจากพระองค์ เขาจะยอมจำนนและสารภาพกับพระองค์จากก้นบึ้งของหัวใจว่า นับแต่นี้ต่อไป ข้าฯ จะไม่หวนกลับไปประกอบกรรมชั่วนั้นอีกแล้ว อัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาจะทรงตอบรับ การเตาบะฮ์ของเขา
การเตาบะฮ์กลับตัวกลับใจ ละเลิกสิ่งที่ถูกตำหนิ(บาป)ในศาสนาอิสลาม
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ (ร่อฮิมะฮุลลอฮ์) กล่าวว่า:
การเตาบะฮ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุก ๆ ความผิด ดังนั้น หากการฝ่าฝืนระหว่างบ่าวและอัลเลาะฮ์ ตะอาลา ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิทธิของมนุษย์ ย่อมมีเงื่อนไข 3 ประการ
1. ถอนตัวออกจากการฝ่าฝืนดังกล่าว
2. เสียใจต่อการกระทำดังกล่าว
3. เขาต้องมั่นใจอย่างเด็ดขาดว่าจะไม่หวนกลับไปทำมันอีกต่อไป
ดังนั้น ถ้าหากขาดประการหนึ่งประการใด การเตาบะฮ์ของเขาย่อมใช้ไม่ได้
จะเห็นว่าหลักการของการเตาบะฮ์(ขออภัยโทษ)ในศาสนาอิสลามตรงกับหลักการก้าวล่วงบาปกรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
“ กรรมนั้นๆเป็นสิ่งไม่สมควร ต่อไปนี้ตลอดไปนิรันดร
เราจะไม่กระทำกรรมนั้นอีกเป็นอันขาด ”
คือ เสียใจรู้สำนึกว่า ที่ทำนั้นบาป แล้วถอนตัว มั่นใจอย่างเด็ดขาดว่าจะไม่หวนกลับไปทำบาปนั้นอีกเด็ดขาด ขาดในส่วนใด ถือว่ายังไม่สมบูรณ์ในเงื่อนไขของการก้าวล่วงบาปกรรม
ทำไมเทวทัตและพระเจ้าอชาตศัตรูจึงต้องตกนรกอเวจี?
- เทวทัตเสียใจรู้สำนึกว่า บาปที่ทำนั้นเป็นอนันตริยกรรม แต่ทำขั้นสุดท้ายคือ ตั้งใจอย่างเด็ดขาดว่าจะไม่หวนกลับไปทำบาปเช่นนั้นกับพระพุทธเจ้าอีกเด็ดขาด ส่วนนี้ทำไม่ทัน โดนธรณีสูบไปก่อน
- พระเจ้าอชาตศัตรู ผู้กระทำการฆ่าพ่อ(พระเจ้าพิมพิสาร) ก็เสียใจรู้สำนึกว่า บาปที่ทำนั้นเป็นอนันตริยกรรมเช่นกัน แต่ทำขั้นสุดท้ายคือ ตั้งใจอย่างเด็ดขาดว่าจะไม่หวนกลับไปทำบาปเช่นนั้นกับพ่อ(พระเจ้าพิมพิสาร)อีกไม่ได้ เพราะพ่อตายโหงไปแล้วนั่นเอง
เทวทัตและพระเจ้าอชาตศัตรูจึงต้องตกนรกอเวจี แต่พระเจ้าอชาตศัตรูโชคดีหน่อยที่ทำความดีสูงสุดไว้มาก แต่ก็ไม่มีพลังอำนาจพอจะทำให้พ้นนรกอเวจีไปได้แบบสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม พระเจ้าอชาตศัตรูถ้าไม่ทำปิตุฆาต พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าจะได้พระโสดาบันในชาตินั้นไปแล้ว นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังทำนายว่า ด้วยการทำความดีสูงสุดของพระเจ้าอชาตศัตรู หลังจากพระเจ้าอชาตศัตรูไปบังเกิดในโลหกุมภีนรก จะตกอยู่ในเบื้องต่ำ ๓ หมื่นปี ถึงพื้นเบื้องล่างแล้วผุดขึ้นเบื้องบน ๓ หมื่นปี ถึงพื้นเบื้องบนอีกจึงจักพ้นได้ ต่อมาหลังจากพ้นนรกมาเกิดแล้ว ในอนาคต จักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าชีวิตวิเสส จักปรินิพพานแล
**ตอน 2 กลัวตกนรกทำอย่างไร
เมื่อเราเป็นมนุษย์ เราย่อมต้องเคยทำผิดหรือทำบาปอะไรมาบ้างล่ะ..ไม่มากก็น้อย ด้วยเหตุนี้ ศาสนาทุกศาสนาจึงมีการสารภาพบาป หรือสำนึกบาปอย่างจริงใจ และตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่ทำบาปเช่นนั้นอีก ทั้งนั้น การสารภาพบาปไม่ใช่เพื่อล้างบาป แล้วไม่ต้องรับผลกรรมนะครับ การล้างบาปแบบนั้นไม่มี เป็นการเขียนบิดเบือนคำสอนของศาสดาของศาสนานั้นกันเอาเองในภายหลัง ศาสดาเขาสอนมาดี แต่หลังๆ มีการเพิ่มเติมกัน ทำให้ผิดเพี้ยนจากความจริงไปเยอะ
จริงอยู่ บาป ล้างกันไม่ได้ แต่...สำนึกบาปและสารภาพ ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่ทำบาปเช่นนั้นอีก สิ่งนี้ทำได้ เมื่อเราสำนึก สารภาพ และตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่ทำผิดบาปเช่นนั้นอีก วิบากกรรมหรือผลกรรมของบาปที่จะนำเราไปสู่นรกย่อมไม่มี แต่ วิบากกรรมหรือผลกรรมทางโลกยังต้องมีอยู่ตามกฎแห่งกรรม เพียงแต่ผลกรรมบนโลกนั้นจะเบาบางลงเท่านั้น นี่แหละคือคำตอบของการแก้กรรมหนีนรกในทุกศาสนา
ตัวอย่าง
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม ในวัยเด็กท่านเคยฆ่าไก่ตายเป็นจำนวนมากด้วยการหักคอไก่ ต่อมาหลังจากท่านมาบวชเป็นพระแล้ว ท่านก็สำนึกในบาปกรรมที่เคยได้ทำในวัยเด็ก
ที่สำคัญ ท่านก็รู้ในจิตของท่านจากการปฏิบัติกรรมฐานด้วยว่า เหล่าวิญญาณไก่ที่เป็นเจ้ากรรมนายเวรของท่านตามมาทวงหนี้กรรมแล้ว และท่านก็ต้องรับผลกรรมนั้น โดยหลวงพ่อจรัญ ต้องคอหักตายในวันที่ 14 ตุลาคม 2521
และแล้ว.....เหตุการณ์นั้นก็เกิดขึ้นจริงๆ ท่านรถคว่ำ คอของหลวงพ่อหัก แต่ทว่า หลวงพ่อจรัญ ท่านไม่ตายครับ อยู่ต่อมาถึงทุกวันนี้ให้เราได้กราบไหว้ เป็นผลมาจากการสำนึกบาปหรือการก้าวล่วงกรรมของท่าน ทำให้วิบากกรรมของท่านนั้นเบาบางลงนั่นเอง
ถามว่า.....แล้วหลวงพ่อจรัญต้องไปรับกรรมต่อในนรกไหมครับ?ต้องดูที่พระพุทธเจ้าบอกกับพระองคุลิมาล เมื่อพระองคุลิมาล (แม้ว่าจะสำนึกผิดแบบเด็ดขาด และตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่ฆ่าคนอีก) แต่ท่านก็ยังต้องได้รับผลกรรมทางโลกอยู่บ้างแต่น้อยมาก คือ เมื่อท่านไปบิณฑบาต ท่านได้เข้าไปบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี ถูกประชาชนขว้างปาด้วยก้อนอิฐ ก้อนหิน และท่อนไม้ จนศีรษะแตก เลือดไหล บาตรก็แตก ผ้าสังฆาฏิก็ขาดวิ่น
= ต้องรับเศษกรรมด้วย เพราะเราไปทำกับขันธ์ 5 (กาย) คนอื่น จึงต้องรับผลกรรมในขันธ์ 5(กาย)ของเราตามกฎแห่งกรรม แต่ทว่ากรรมนั้นเบาบางลงมาก เป็นเศษกรรม
พอมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่า
"กรรมที่จะให้ผลไปหมกไหม้ในนรกเป็นเวลาหลายหมื่นหลายแสนปี เป็นอันท่านได้รับผลในปัจจุบัน" (รับเศษกรรมไปแล้วจากการโดนทำร้ายบนโลก จึงไม่ต้องรับกรรมใดๆอีกในปรโลก)
ในพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ ข้อ 413 พิธีอุทยคามินีของพราหมณ์
ปัญหา นายคามณี อสิพันธกบุตรกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า นิครนถ์นาฏบุตรสอนว่า ใครก็ตามที่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม และพูดเท็จ จะต้องเข้าถึงอบายและนรกอย่างแน่นอน กรรมใดที่คนทำเป็นส่วนมากจนเป็นนิสัย จะนำเขาเข้าสู่นรก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นอย่างไร ?
พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า:
"ดูก่อนนายคามณี ท่านจะเห็นความข้อนั้นเป็นอย่างไร บุรุษผู้ฆ่าสัตว์ ถือเอาของที่เขามิได้ให้ ประพฤติผิดในกาม เป็นผู้กล่าวเท็จ ในกลางคืนก็ดี ในกลางวันก็ดี รวมทั้งสมัยและมิใช่สมัยก็ดี เวลาไหนมากกว่า ? เวลาฆ่าสัตว์ หรือเวลาไม่ฆ่าสัตว์?"
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาที่เขาฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จน้อยกว่า เวลาที่เขาไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดประเวณี ไม่พูดเท็จมากกว่าโดยแท้”
“ดูก่อนนายคามณี เมื่อเป็นเช่นนี้จักไม่มีใครไปสู่อบาย ตกนรกตามคำของนิครนถ์นาฏบุตรที่ว่ากรรมใด ๆ มีมาก เขาจักถูกกรรมนั้นนำไป....(เพราะเวลาที่เราทำดีมีมากว่าเวลาที่เราทำชั่ว)
“ดูก่อนนายคามณี ส่วนพระตถาคตอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ทรงตำหนิการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม และพูดเท็จ และตรัสว่า จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ โดยอเนกปริยายสาวกผู้เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิปาณาติบาต และตรัสว่า จงเว้นจากปาณาติบาต สัตว์ที่เราฆ่ามีอยู่มากมาย ข้อนั้นไม่ดีไม่งาม เราพึงเดือดร้อนเพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย บาปกรรมนั้นจักเป็นอันยกเลิกไม่ได้ เขาพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละปาณาติบาตนั้นด้วย ย่อมงดเว้นจากปาณาติบาตต่อไปด้วย เป็นอันว่าเขาละบาปกรรมก้าวล่วงบาปกรรมได้ด้วยประการอย่างนี้"
สรุป
นายคามณีเข้าใจผิดว่า การผิดศีล 5 ต้องเข้าถึงอบายภูมิและนรก อย่างแน่นอน หลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่พระพุทธเจ้ากลับตอบว่า คนที่ผิดศีล 5 ไปแล้ว ถ้าเขาทำการก้าวล่วงกรรม หรือการสำนึกบาปโดยเด็ดขาดแล้ว จะทำให้เขาไม่ต้องลงอบายภูมิและนรก จะรับเพียงเศษกรรมเก่าเท่านั้น
ในสุตตันต มัชฌิชนิกาย สัจจวิภังคสูตร 22/542-546 พระพุทธองค์ทรงตรัสแนะนำให้ก้าวล่วงออกจากกรรมเสีย โดยการกำหนดอธิษฐานจิต ตั้งใจมั่นว่า:
" กรรมนั้นๆเป็นสิ่งไม่สมควร ต่อไปนี้ตลอดไปนิรันดร เราจะไม่กระทำกรรมนั้นอีกเป็นอันขาด "
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า: (บันทึกอยู่ในอสังขาสูตร)
"เขายังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละความเห็นนั้น ย่อมตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมาขังไว้ ฉะนั้น"
ให้ละวาจานั้น ให้ละความคิดนั้น ให้ละความเห็นนั้น คือ ให้ละสิ่งนี้ออกจากจิตไปเลย "เราต้องไปอบาย ต้องตกนรก" เพราะเราได้ทำการสำนึกผิด สารภาพบาป และตั้งใจแน่วแน่แล้วว่า เราจะไม่ทำบาปเช่นนั้นอีก เราจึงตกนรกไม่ได้
การสำนึกบาปในศาสนาพุทธ ผมได้เรียนชี้แจงไปแล้ว สรุปอีกครั้งหนึ่งคือพระพุทธเจ้าตรัสสอนวิธีไม่ต้องไปอบาย ไม่ต้องตกนรก เพราะการตกอบาย ตกนรก เป็นเพราะผู้ทำบาป ไม่ยอมสำนึกบาป ไม่ยอมละเลิกการกระทำบาปนั้นจากความคิด ความเห็นของตน คือไม่ยอมรับการประพฤติตามศีล 5 เมื่อมีชีวิตอยู่บนโลกนั่นเอง
ถ้าผู้ที่เคยทำบาป ยอมสำนึกบาป ยอมละเลิกการกระทำบาปนั้นอย่างเด็ดขาด เอาความคิดชั่วนั้นออกจากความคิด ออกจากความเห็นของตน คือยอมรับการประพฤติตามศีล 5 เมื่อมีชีวิตอยู่บนโลก บาปกรรมที่จะนำไปสู่อบายภูมิย่อมไม่มี ส่วนบาปกรรมที่ยังส่งผลร้ายกับชีวิตตอนที่เป็นมนุษย์ แม้ว่ายังมีอยู่ แต่ก็จะเบาบางลงมาก เช่น องคุลิมาลฆ่าคนมา 999 คน โดนแค่รุมประชาทัณฑ์นิดหน่อยเท่านั้น
จาก สุตตันต มัชฌิชนิกาย สัจจวิภังคสูตร 22/542-546 (ผมอ่านมาจากหนังสือธรรมธาตุ ธรรมชาติของสรรพสิ่ง ของคณะสังคมผาสุก เพื่อความผาสุกของสังคม หน้า 229)
ก่อนจบเรื่องการสารภาพบาปในศาสนาพุทธ ผม:
ย้ำอีกครั้ง! พระพุทธองค์ทรงตรัสแนะนำให้ก้าวล่วงออกจากกรรมเสีย โดยการกำหนดอธิษฐานจิต ตั้งใจมั่นว่า
“ กรรมนั้นๆเป็นสิ่งไม่สมควร ต่อไปนี้ตลอดไปนิรันดร
เราจะไม่กระทำกรรมนั้นอีกเป็นอันขาด ”
เมื่อเราตั้งใจแน่วแน่ดังนี้แล้ว ใจของเราจะก้าวออกจากกรรมนั้นได้
เรื่องการก้าวล่วงบาปกรรมนั้น ก็คือการสำนึกบาปอย่างจริงใจนั่นเอง สิ่งนี้เป็นการขจัดมลทินแห่งอกุศลออกไปจากจิต ทำให้กรรมดำกลายเป็นกรรมขาว และทำให้วิบากของกรรมดำที่เราเคยทำไปแล้วในอดีต ส่งผลกรรมทางโลกกับเราเบาบางลงได้ ส่วนในอบายภูมิสลายไปเลย
การสำนึกและสารภาพบาปในศาสนาอิสลาม
การสำนึกบาปในศาสนาอิสลามเรียกว่า ชะฟาอะฮฺ(การไถ่โทษ) และเตาบะฮฺ (ขออภัยโทษ)
เรื่องที่สำคัญที่ควรรู้ของชะฟาอะฮฺ(การไถ่โทษ)
ศาสนทูตแห่งอิสลาม (ซ็อล ฯ) ได้วจนะว่า
“แท้จริงชะฟาอะฮฺของฉันจำเพาะกับบรรดาผู้ที่ประกอบความผิดอุกฤษฏ์จาก ประชาชาติของฉันเท่านั้น”
สาเหตุที่ชะฟาอะฮฺ(การไถ่โทษ)ถูกเจาะจงเฉพาะความผิดบาปอุกฤษฏ์เท่านั้น เนื่องจาก อัลลอฮฺได้ทรงสาธยายไว้อย่างชัดเจนในคัมภีร์ของพระองค์ด้วยการสัญญาว่า ถ้าหากมนุษย์ ละทิ้งความชั่วอุกฤษฏ์แล้ว พระองค์จะทรงอภัยโทษจากความผิดบาปเล็กน้อยของพวกเขา (อันนิสาอ์ 4 : 31) ซึ่งพวกเขาไม่จำเป็นที่จะต้องขอชะฟาอะฮฺหรือปฏิบัติในสิ่งที่ คล้ายคลึงนี้อีกแต่อย่างใด
ด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ การชะฟาอะฮฺ(การไถ่โทษ)จะสัมฤทธิ์ผลได้เฉพาะ บรรดาผู้ที่มิได้ตัดความสัมพันธ์กับศาสนาและกับอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่ง และบุคคลผู้นั้นจะต้องมี คุณค่าคู่ควรต่อการได้รับชะฟาอะฮฺด้วย ถึงแม้ว่าพวกเขาจะแปดเปื้อนไปด้วยมลทิน ความผิดบาปบางอย่างก็ตาม แต่ด้วยบะเราะกะฮฺ (ความจำเริญ) ของชะฟาอะฮฺ เขามีสิทธิ ที่จะได้รับความเมตตาจากพระองค์เช่นกัน หลักความเชื่อในชะฟาอะฮฺได้ถูกสาธยายในคัมภีร์ อัลกุรฺอานและสุนนะฮฺ ซึ่งเราจะนำเสนอดังต่อไปนี้
ชะฟาอะฮฺที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรฺอาน
โองการจากคัมภีร์อัลกุรฺอานได้ยืนยันถึงการมีชะฟาอะฮฺ(การไถ่โทษ)ในวันกิยามะฮฺว่าขึ้นอยู่กับ การอนุมัติและความพึงพอพระทัยของอัลลอฮฺ ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า
“และบรรดาผู้ขอไถ่โทษไม่ได้ขอไถ่โทษแทนผู้ใด นอกจาก (ในสิทธิของ) ผู้ที่ พระองค์(อัลลอฮฺ)ทรงพอพระทัย (อนุมัติ)”
และในอีกโองการหนึ่งที่พระองค์ทรงตรัสว่า
“ไม่มีผู้ใดที่จะมีสิทธิขอไถ่โทษแทนได้ นอกจากจะได้รับอนุมัติจากพระองค์(อัลลอฮฺ)เท่านั้น”
เรื่องที่สำคัญที่ควรรู้ของเตาบะฮ์ (ขออภัยโทษ)
บาปโดยทั่วไปใช้การเตาบะฮ์(ขออภัยโทษ)เท่านั้น การเปิดประตูแห่งเตาบะฮฺ (ขออภัยโทษ) สำหรับปวงบ่าวที่ได้ประกอบความผิดบาป ถือเป็นหนึ่งในสารธรรมคำสอนอิสลาม (ยิ่งไปกว่านั้น ยังรวมถึงทุกศาสนาที่ถูกประทาน มาจากฟากฟ้าอีกด้วย) คราใดเมื่อมนุษย์ที่ประพฤติเสื่อมเสียได้รู้สึกสำนึกผิดในความชั่วช้า น่ารังเกียจที่ตนได้ประกอบไว้ จิตวิญญาณแห่งการสำนึกผิดของเขาจะเริ่มหวนรำลึกถึง พระผู้เป็นเจ้าก่อนสิ่งอื่นใด และหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวังก็จะอ้อนวอนขอจากพระองค์ เขาจะยอมจำนนและสารภาพกับพระองค์จากก้นบึ้งของหัวใจว่า นับแต่นี้ต่อไป ข้าฯ จะไม่หวนกลับไปประกอบกรรมชั่วนั้นอีกแล้ว อัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาจะทรงตอบรับ การเตาบะฮ์ของเขา
การเตาบะฮ์กลับตัวกลับใจ ละเลิกสิ่งที่ถูกตำหนิ(บาป)ในศาสนาอิสลาม
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ (ร่อฮิมะฮุลลอฮ์) กล่าวว่า:
การเตาบะฮ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุก ๆ ความผิด ดังนั้น หากการฝ่าฝืนระหว่างบ่าวและอัลเลาะฮ์ ตะอาลา ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิทธิของมนุษย์ ย่อมมีเงื่อนไข 3 ประการ
1. ถอนตัวออกจากการฝ่าฝืนดังกล่าว
2. เสียใจต่อการกระทำดังกล่าว
3. เขาต้องมั่นใจอย่างเด็ดขาดว่าจะไม่หวนกลับไปทำมันอีกต่อไป
ดังนั้น ถ้าหากขาดประการหนึ่งประการใด การเตาบะฮ์ของเขาย่อมใช้ไม่ได้
จะเห็นว่าหลักการของการเตาบะฮ์(ขออภัยโทษ)ในศาสนาอิสลามตรงกับหลักการก้าวล่วงบาปกรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน
“ กรรมนั้นๆเป็นสิ่งไม่สมควร ต่อไปนี้ตลอดไปนิรันดร
เราจะไม่กระทำกรรมนั้นอีกเป็นอันขาด ”
คือ เสียใจรู้สำนึกว่า ที่ทำนั้นบาป แล้วถอนตัว มั่นใจอย่างเด็ดขาดว่าจะไม่หวนกลับไปทำบาปนั้นอีกเด็ดขาด ขาดในส่วนใด ถือว่ายังไม่สมบูรณ์ในเงื่อนไขของการก้าวล่วงบาปกรรม
ทำไมเทวทัตและพระเจ้าอชาตศัตรูจึงต้องตกนรกอเวจี?
- เทวทัตเสียใจรู้สำนึกว่า บาปที่ทำนั้นเป็นอนันตริยกรรม แต่ทำขั้นสุดท้ายคือ ตั้งใจอย่างเด็ดขาดว่าจะไม่หวนกลับไปทำบาปเช่นนั้นกับพระพุทธเจ้าอีกเด็ดขาด ส่วนนี้ทำไม่ทัน โดนธรณีสูบไปก่อน
- พระเจ้าอชาตศัตรู ผู้กระทำการฆ่าพ่อ(พระเจ้าพิมพิสาร) ก็เสียใจรู้สำนึกว่า บาปที่ทำนั้นเป็นอนันตริยกรรมเช่นกัน แต่ทำขั้นสุดท้ายคือ ตั้งใจอย่างเด็ดขาดว่าจะไม่หวนกลับไปทำบาปเช่นนั้นกับพ่อ(พระเจ้าพิมพิสาร)อีกไม่ได้ เพราะพ่อตายโหงไปแล้วนั่นเอง
เทวทัตและพระเจ้าอชาตศัตรูจึงต้องตกนรกอเวจี แต่พระเจ้าอชาตศัตรูโชคดีหน่อยที่ทำความดีสูงสุดไว้มาก แต่ก็ไม่มีพลังอำนาจพอจะทำให้พ้นนรกอเวจีไปได้แบบสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม พระเจ้าอชาตศัตรูถ้าไม่ทำปิตุฆาต พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าจะได้พระโสดาบันในชาตินั้นไปแล้ว นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังทำนายว่า ด้วยการทำความดีสูงสุดของพระเจ้าอชาตศัตรู หลังจากพระเจ้าอชาตศัตรูไปบังเกิดในโลหกุมภีนรก จะตกอยู่ในเบื้องต่ำ ๓ หมื่นปี ถึงพื้นเบื้องล่างแล้วผุดขึ้นเบื้องบน ๓ หมื่นปี ถึงพื้นเบื้องบนอีกจึงจักพ้นได้ ต่อมาหลังจากพ้นนรกมาเกิดแล้ว ในอนาคต จักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าชีวิตวิเสส จักปรินิพพานแล
**ตอน 2 กลัวตกนรกทำอย่างไร
ขอแก้ไขนะครับ หลวงพ่อจรัญท่านไม่ได้หักคอไก่นะครับ แต่ท่านหักคอนก ท่านหักคอนกไปประมาณ 100 ตัว (ตามที่ท่านเล่า) ทำให้ท่านได้รับผลกรรมไปในวันที่ 14 ต.ค. 2521 ส่วนไก่ท่านเคยฆ่าจริง แต่ฆ่าด้วยวิธีผ่าท้องเพื่อตอนไก่ให้เนื้อแน่นขึ้น แต่ท่านไม่ได้เรียนรู้วิธีตอนไก่มาก่อน ทำให้ไก่ตายไปหลายร้อยตัวเหมือนกันเพราะไส้เน่า แล้วผลกรรมที่ท่านฆ่าไก่ท่านก็ได้รับไปแล้วเหมือนกัน รับก่อนที่ท่านจะรับผลกรรมหักคอนกอีกครับ
ตอบลบ