คำว่า "เซียน (great master)" เป็นชื่อที่คนไทยรู้จักกันมานานแล้ว
และใช้เรียกผู้มีความชำนาญบางอย่างมากเป็นพิเศษว่า
"เซียน" เช่น เซียนพระเครื่อง เซียนสนุ๊ก
คนไทยและคนจีนมักเรียกผู้วิเศษ ที่สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้
มีอำนาจอิทธิฤทธิ์หรือมีของวิเศษต่างๆว่า "เซียน"
แต่ความหมายของเซียน ไม่ได้มีเพียงเท่านั้น มันมากกว่านั้นเยอะ ในบทความนี้ผมขอเขียนไว้เฉพาะบางส่วน
สมัยก่อนคำว่าเซียน สามารถเทียบได้ใกล้เคียงกับคำว่า "ฤๅษี" สมัยนี้น่าจะใกล้เคียงกับคำว่า "พระเกจิ หรือผู้วิเศษ"
- ในทางโลก ผู้ที่เก่งหรือชำนาญในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ เราเรียกว่า เซียนด้านนั้นด้านนี้
- ในทางศาสนา ผู้ที่เก่งหรือชำนาญในด้านการทำความดีต่างๆ จนถึงขั้นบำเพ็ญสมถะหรือสมาธิให้ใจสงบนึ่ง จนได้ฌาน 4-8 พระพุทธเจ้าเรียกว่า ผู้มีสมถะเป็นยาน หรือ ผู้บำเพ็ญสมถะจนบรรลุระดับสูง
การบริกรรมภาวนาใดๆ ล้วนเป็นการทำให้จิตใต้สำนึก หรือภวังค์จิตของเราสงบ การรวมหรือเพ่งจิตอยู่ที่จุดเดียวนั้น ถ้าเป็นการโฟกัสไปที่จุดเดียวโดยจิตยังฟุ้งซ่าน ย่อมทำไม่ค่อยได้ และไม่มีพลังงานจิตที่พอเพียง แต่การโฟกัสจิตที่ไม่ฟุ้งซ่านไปที่จุดเดียว ย่อมเกิดพลังงานจิตที่มหาศาลขึ้นมาได้ ผู้ที่ฝึกสมถะจนได้ฌานระดับสูง และสามารถนำพลังงานจิตไปใช้ประโยชน์ได้ดีมี 5 จำพวก หรือพวกมีอภิญญา 5
ภาวนาปลุกจิตใต้สำนึกจนสำเร็จเป็นเซียน
พระพุทธเจ้าไม่ได้สรรเสริญผู้ที่ทำสมถะจนได้อำนาจวิเศษใดๆ ที่เราเรียนว่า เซียน เลย แต่พระพุทธองค์สรรเสริญเฉพาะเซียน ที่นำเอาอำนาจวิเศษเหล่านั้น ไปขจัดขัดเกลากิเลสตนหมดเท่านั้น เซียนพวกนี้มี 2 พวก
1. พระสมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นยาน(เครื่องนำไป) หมายถึง ผู้เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาวิมุตติต่อ
2. พระอุภโตภาควิมุต คือ พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถะมาเป็นอย่างมากจนได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงใช้สมถะนั้นเป็นฐานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไปจนบรรลุอรหัตผล หลุดพ้นจากความทุกข์
" เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว) ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือฌาน(ทั้งหลาย)นี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่(ให้)เป็นสุขในอัตภาพนี้"
หมายความว่า เซียน มี 2 จำพวก
1. เซียนที่ได้อภิญญา 5 อย่างใดอย่างหนึ่ง = "เซียน" ผู้สำเร็จฌานสมาบัติต่างๆ แล้วเป็นผู้อยู่อย่างเป็นสุขตามอัตภาพของตน คือใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขเท่าที่สภาพความเป็นอยู่
2. เซียนที่ได้อภิญญา 5 ไปต่ออภิญญา 6 = เซียน ผู้สำเร็จฌานสมาบัติต่างๆ แล้วเลื่อนระดับไปจนบรรลุอรหัตผล หลุดพ้นจากความทุกข์ ด้วยการทำวิปัสสนากรรมฐาน และการทำให้สมถะกรรมฐานของตน จนไม่หลุดหลงไปตามกิเลสตัณหาตลอดกาล เช่น พระอิศวร ราชาแห่งโยคะ พระพุทธองค์เรียกผู้ทำสมถะกรรมฐานของตน จนไม่หลุดหลงไปตามกิเลสตัณหาตลอดกาลว่า พระอรหันต์ ที่เจโตวิมุตติไม่กำเริบแล้ว
แต่เดิม...เซียน(ผู้วิเศษ)ที่มีแค่อภิญญา 5 ใช้พลังจิตที่ชำนาญของตน แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆได้ ถือเป็น เซียนธรรมดา(ผู้วิเศษธรรมดา) แต่เมื่อเป็นเซียนที่บรรลุธรรม เป็นพระอรหันต์ ที่เจโตวิมุตติไม่กำเริบแล้ว เป็นอรหันต์แล้ว เราจึงเรียกท่านว่า "เซียนอรหันต์ เซียนพุทธะ กับ อรหันต์โพธิสัตว์"
เซียนอรหันต์ เซียนพุทธะ หรือ โพธิสัตว์อรหันต์ แตกต่างจากเซียนธรรมดา(ผู้วิเศษธรรมดา) ตรงที่เซียนธรรมดา(ผู้วิเศษธรรมดา)เป็นแค่อทิสมานกาย(กายทิพย์มนุษย์) ในขณะที่เซียนอรหันต์ เซียนพุทธะ หรือ โพธิสัตว์อรหันต์ เป็นเซียนหรือเป็นโพธิสัตว์ ที่กำเนิดจากพระอรหันต์ท่านนั้น ดับหรือละลายอทิสมานกาย(กายทิพย์มนุษย์)ของตนไปแล้ว จึงได้กายธรรมหรือธรรมกาย แล้วกายธรรมหรือธรรมกายก็นิรมิตกายทิพย์ตัวใหม่ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายออกมา เรียกว่า "สัมโภคกาย หรือ พระวิญญาณบริสุทธิ์ หรือกายทิพย์บริสุทธิ์"
ในขณะที่อทิสมานกาย(กายทิพย์มนุษย์)นั้นเกิดแก่เจ็บตายได้ เพียงแต่ถ้าเป็นเทพหรือเทวดาจะมีอายุยืนยาวกว่ามนุษย์เท่านั้น ยิ่งเป็นพรหม(ทางโลกหรือโลกียะ)จะอายุยาวนานมากๆๆๆๆๆ จนถึงขนาดหลงผิดไปเลยว่า ตนเองเป็นอมตะ อยู่ได้ชั่วนิจนิรันดร เช่น ผกาพรหม และอุทกพรหม ที่ทั้งคู่หลงผิดว่าพรหมชั้นที่ตนอยู่คือนิพพาน
ย้ำ! ผู้ที่แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆได้ จนถึงขั้นเป็นเซียน น่าจะเป็นผู้ที่ได้ ฌาน ๔ จตุตถสมาบัติ ฌาน หรือกว่านั้นขึ้นไปจนถึงฌาน 5-8 ซึ่งเป็นอรูปฌาน
...สมถยานิก = ผู้มีสมถะเป็นยาน คือ ท่านผู้เจริญสมถะจนได้ฌานสมาบัติแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อจนได้สำเร็จอรหันต์
แต่ความหมายของเซียน ไม่ได้มีเพียงเท่านั้น มันมากกว่านั้นเยอะ ในบทความนี้ผมขอเขียนไว้เฉพาะบางส่วน
สมัยก่อนคำว่าเซียน สามารถเทียบได้ใกล้เคียงกับคำว่า "ฤๅษี" สมัยนี้น่าจะใกล้เคียงกับคำว่า "พระเกจิ หรือผู้วิเศษ"
- ในทางโลก ผู้ที่เก่งหรือชำนาญในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ เราเรียกว่า เซียนด้านนั้นด้านนี้
- ในทางศาสนา ผู้ที่เก่งหรือชำนาญในด้านการทำความดีต่างๆ จนถึงขั้นบำเพ็ญสมถะหรือสมาธิให้ใจสงบนึ่ง จนได้ฌาน 4-8 พระพุทธเจ้าเรียกว่า ผู้มีสมถะเป็นยาน หรือ ผู้บำเพ็ญสมถะจนบรรลุระดับสูง
การบริกรรมภาวนาใดๆ ล้วนเป็นการทำให้จิตใต้สำนึก หรือภวังค์จิตของเราสงบ การรวมหรือเพ่งจิตอยู่ที่จุดเดียวนั้น ถ้าเป็นการโฟกัสไปที่จุดเดียวโดยจิตยังฟุ้งซ่าน ย่อมทำไม่ค่อยได้ และไม่มีพลังงานจิตที่พอเพียง แต่การโฟกัสจิตที่ไม่ฟุ้งซ่านไปที่จุดเดียว ย่อมเกิดพลังงานจิตที่มหาศาลขึ้นมาได้ ผู้ที่ฝึกสมถะจนได้ฌานระดับสูง และสามารถนำพลังงานจิตไปใช้ประโยชน์ได้ดีมี 5 จำพวก หรือพวกมีอภิญญา 5
ภาวนาปลุกจิตใต้สำนึกจนสำเร็จเป็นเซียน
พระพุทธเจ้าไม่ได้สรรเสริญผู้ที่ทำสมถะจนได้อำนาจวิเศษใดๆ ที่เราเรียนว่า เซียน เลย แต่พระพุทธองค์สรรเสริญเฉพาะเซียน ที่นำเอาอำนาจวิเศษเหล่านั้น ไปขจัดขัดเกลากิเลสตนหมดเท่านั้น เซียนพวกนี้มี 2 พวก
1. พระสมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นยาน(เครื่องนำไป) หมายถึง ผู้เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาวิมุตติต่อ
2. พระอุภโตภาควิมุต คือ พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญสมถะมาเป็นอย่างมากจนได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงใช้สมถะนั้นเป็นฐานบำเพ็ญวิปัสสนาต่อไปจนบรรลุอรหัตผล หลุดพ้นจากความทุกข์
" เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว) ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือฌาน(ทั้งหลาย)นี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่(ให้)เป็นสุขในอัตภาพนี้"
หมายความว่า เซียน มี 2 จำพวก
1. เซียนที่ได้อภิญญา 5 อย่างใดอย่างหนึ่ง = "เซียน" ผู้สำเร็จฌานสมาบัติต่างๆ แล้วเป็นผู้อยู่อย่างเป็นสุขตามอัตภาพของตน คือใช้ชีวิตอย่างเป็นสุขเท่าที่สภาพความเป็นอยู่
2. เซียนที่ได้อภิญญา 5 ไปต่ออภิญญา 6 = เซียน ผู้สำเร็จฌานสมาบัติต่างๆ แล้วเลื่อนระดับไปจนบรรลุอรหัตผล หลุดพ้นจากความทุกข์ ด้วยการทำวิปัสสนากรรมฐาน และการทำให้สมถะกรรมฐานของตน จนไม่หลุดหลงไปตามกิเลสตัณหาตลอดกาล เช่น พระอิศวร ราชาแห่งโยคะ พระพุทธองค์เรียกผู้ทำสมถะกรรมฐานของตน จนไม่หลุดหลงไปตามกิเลสตัณหาตลอดกาลว่า พระอรหันต์ ที่เจโตวิมุตติไม่กำเริบแล้ว
แต่เดิม...เซียน(ผู้วิเศษ)ที่มีแค่อภิญญา 5 ใช้พลังจิตที่ชำนาญของตน แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆได้ ถือเป็น เซียนธรรมดา(ผู้วิเศษธรรมดา) แต่เมื่อเป็นเซียนที่บรรลุธรรม เป็นพระอรหันต์ ที่เจโตวิมุตติไม่กำเริบแล้ว เป็นอรหันต์แล้ว เราจึงเรียกท่านว่า "เซียนอรหันต์ เซียนพุทธะ กับ อรหันต์โพธิสัตว์"
เซียนอรหันต์ เซียนพุทธะ หรือ โพธิสัตว์อรหันต์ แตกต่างจากเซียนธรรมดา(ผู้วิเศษธรรมดา) ตรงที่เซียนธรรมดา(ผู้วิเศษธรรมดา)เป็นแค่อทิสมานกาย(กายทิพย์มนุษย์) ในขณะที่เซียนอรหันต์ เซียนพุทธะ หรือ โพธิสัตว์อรหันต์ เป็นเซียนหรือเป็นโพธิสัตว์ ที่กำเนิดจากพระอรหันต์ท่านนั้น ดับหรือละลายอทิสมานกาย(กายทิพย์มนุษย์)ของตนไปแล้ว จึงได้กายธรรมหรือธรรมกาย แล้วกายธรรมหรือธรรมกายก็นิรมิตกายทิพย์ตัวใหม่ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายออกมา เรียกว่า "สัมโภคกาย หรือ พระวิญญาณบริสุทธิ์ หรือกายทิพย์บริสุทธิ์"
ในขณะที่อทิสมานกาย(กายทิพย์มนุษย์)นั้นเกิดแก่เจ็บตายได้ เพียงแต่ถ้าเป็นเทพหรือเทวดาจะมีอายุยืนยาวกว่ามนุษย์เท่านั้น ยิ่งเป็นพรหม(ทางโลกหรือโลกียะ)จะอายุยาวนานมากๆๆๆๆๆ จนถึงขนาดหลงผิดไปเลยว่า ตนเองเป็นอมตะ อยู่ได้ชั่วนิจนิรันดร เช่น ผกาพรหม และอุทกพรหม ที่ทั้งคู่หลงผิดว่าพรหมชั้นที่ตนอยู่คือนิพพาน
ย้ำ! ผู้ที่แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆได้ จนถึงขั้นเป็นเซียน น่าจะเป็นผู้ที่ได้ ฌาน ๔ จตุตถสมาบัติ ฌาน หรือกว่านั้นขึ้นไปจนถึงฌาน 5-8 ซึ่งเป็นอรูปฌาน
...สมถยานิก = ผู้มีสมถะเป็นยาน คือ ท่านผู้เจริญสมถะจนได้ฌานสมาบัติแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อจนได้สำเร็จอรหันต์
อนุโมทนา
ตอบลบทุกวันนี้ยังมีอยู่ไหมผู้ศึกษาแบบนี้ครับ
ตอบลบเขาทำยังไงถึงได้เป็นเชียนได้ฝึกยังไงครับทุกวันนี้มีคนฝึกไหม
ตอบลบ