A A

22 มีนาคม 2558

ฌานิพุทธเจ้า 5 องค์ เป็นแหล่งกำเนิดพระพุทธเจ้า 5 องค์(นะโมพุทธายะ)ในภัทรกัปนี้

จากคำตอบที่ผมตอบคุณchoksila58ไป  เรื่องที่คุณchoksila58มั่นใจแน่ๆว่า ตนเองเข้าใจถูกต้องว่าโคตมะพระพุทธเจ้า ไม่ได้อวตารมาจากพระอมิตาภะพุทธเจ้า  ทั้งๆที่ตนเองเข้าใจผิดอย่างมาก  เพราะปฏิบัติไม่ถึงขั้นหรือไม่ปฏิบัตินั่นเอง

อ้างถึง

ตอบกลับ  Phonsak(คืนรังโจร)

..เป็นไปไม่ได้ที่พระอมิตาภะพุทธเจ้าจะตรัสบอกว่าท่านอวตารจิตออกมาอย่างที่ลุงบอกมานั้น ไม่ใช่ท่านแน่นอน ลุงกำลังหลงนิมิตถูกมารเข้าสิงใจทำให้หลงทาง.. ผิดแท้ๆ

choksila58 โพสต์

ตอบ

ผิดแท้ๆ...อย่างนั้นหรือ???... อย่าเพิ่งแน่ใจอะไรเลย  เพราะความรู้ทางศาสนาของเธอยังน้อยนัก 

เมื่อผมพูดดังนี้ไปแล้ว  ผมก็ต้องรับผิดชอบ  เพิ่มความรู้ให้คุณchoksila58 และเพื่อนๆ  ดังนั้นผมจึงต้องนำเสนอเรื่องสุดยอดเรื่องนี้  ซึ่งชาวพุทธเถรวาทคงไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ส่วนชาวพุทธมหายานก็มีน้อยคนนักที่จะรู้เรื่องแหล่งกำเนิดของพระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์ 5 พระองค์ในภัทรกัปนี้  ซึ่งทั้ง 5 พระองค์คือ


1. พระกกุสันธพุทธเจ้า (นะ)
2. พระโกนาคมนพุทธเจ้า (โม)
3. พระกัสสปพุทธเจ้า (พุท)
4. พระโคตมพุทธเจ้า (ธา)
5. พรศรีอริยะเมตไตรยพุทธเจ้า (ยะ)


เรียกพระนามย่อๆของพระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์ทั้ง 5 พระองค์ว่า  "นะโมพุทธายะ"  พระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์ทั้ง 5 พระองค์ กำเนิดมาจากฌานิพุทธเจ้า 5 พระองค์ เรื่องมันเป็นอย่างนี้:

กำเนิดจักรวาลและกำเนิดพระพุทธเจ้าต่างๆ

แรกเริ่มเดิมที  ทุกสิ่งทุกอย่างมันว่างเปล่า  แต่ในความว่างเปล่านั้น กลับมีสิ่งหนึ่งที่อยู่ตามลำพังในความว่างเปล่านั้นชั่วนิรันดร  สิ่งนั้นคือ  จิตว่าง...ว่างมหาศาล และ ว่างมหาบริสุทธิ์  หรือมหาสุญญตา หรือปรินิพพาน  จิตว่างมหาศาลนี้ มีอำนาจควบคุม ดลบันดาล และเนรมิตความว่างเปล่ารอบจิตว่างของตนทั้งมวลออกไปเป็นอะไรก็ได้ 

วันหนึ่ง ปรินิพพาน หรือ จิตว่างมหาศาล  ก็เริ่มเล่นเกมส์  
ขั้นแรก จิตว่าง...ว่างมหาศาลก็นิรมิตตัวเองเป็นพระอาทิพุทธเจ้า หรือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม ผู้อยู่เป็นนิรันดร์ ผู้เกิดเอง  ผู้ไม่มีเบื้องต้นและเบื้องปลาย

อย่างไรก็ตาม  อาทิพุทธเจ้า ท่านต้องอยู่ตามลำพังโดดเดี่ยวในความว่างเปล่าเหมือนเดิม อาทิพุทธเจ้าเลยแบ่งภาคหรืออวตารตัวของท่านเอง  ออกไปช่วยสร้างสรรพสิ่งและสรรพจิตต่างๆขึ้นมาในจักรวาล  อัลเลาะห์ ศิวะ ฯลฯ ที่เรียกว่า องค์พระผู้เป็นเจ้า(พระบิดา) หรือ พระพุทธเจ้าสูงสุด ก็คือท่านอาทิพุทธเจ้าทั้งนั้น

พระโคตมะพุทธเจ้าของเรา ตรัสสอนไปทางนิกายมหายานว่า  อาทิพุทธเจ้า ได้อวตารหรือแบ่งภาคตนเองออกเป็น 2 ภาคใหญ่ๆด้วย คือ

1. ธยานิพุทธเจ้า 5 พระองค์ หรือ ฌานิพุทธเจ้า 5 พระองค์ ได้แก่ พระไวโรจนพุทธะ พระอักโษภยพุทธะ พระรัตนสัมภวพุทธะ พระอมิตาภพุทธะ และพระอโมฆสิทธิพุทธะ  แล้วธยานิพุทธะทั้ง 5 องค์นี้ก็ได้นิรมิตสร้างพระธยานิโพธิสัตว์ขึ้นมาด้วยอำนาจฌานของตนอีก 5 องค์ เพื่อช่วยงานใน 3 ภพ

นอกจากนี้ ฌานิพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์  ก็ยังต้องอวตารหรือแบ่งภาคออกไปเป็นมนุษย์ด้วย และต้องบำเพ็ญเพียรในฐานะพระโพธิสัตว์จนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จึงจะเรียกว่า "นิรมานกายของพระพุทธเจ้า หรือ  พระมานุสสพุทธะ"

2. พระมานุสสพุทธะ หรือนิรมานกายของพระพุทธเจ้า

ย้ำ!   นิรมานกายคือการ แบ่งภาคหรือ "อวตาร"ของพระฌานิพุทธเจ้า 5 พรองค์  จะเรียกว่าการอวตารของอาทิพุทธเจ้าก็ได้  “พระมานุษิพุทธเจ้าเป็นการอวตารของฌานิพุทธเจ้า 5 พระองค์ในระดับ กามธาตุหรือระดับของ โลกมนุษย์"

ในภัทรกัปนี้ พระธยานิพุทธเจ้า ๕ พระองค์ ได้ทรงแบ่งภาคออกมาเป็น พระพุทธเจ้าที่เป็นมนุษย์ ๕ พระองค์รายละเอียดมีดังนี้

๑.  “พระอักโษภยะธยานิพุทธเจ้า”  ได้ทรงนิรมานกายแบ่งภาคออกมาเป็น พระมานุษิพุทธเจ้าที่ทรงพระนามว่า 
พระกกุสันโธพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑ ในภัทรกัป

๒. พระรัตนสัมภวะธยานิพุทธเจ้า”  ทรงนิรมานกายแบ่งภาคเป็น พระมานุษิพุทธเจ้าทรงพระนามว่า 
พระโกนาคมน์พุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ ในภัทรกัป

๓.  “พระอโมฆะสิทธิ์ธยานิพุทธเจ้า”  ทรงนิรมานกายแบ่งภาคเป็น พระมานุษิพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระกัสสปะพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๓ ในภัทรกัป

๔.  “พระอมิตภะธยานิพุทธเจ้า  ทรงนิรมานกายแบ่งภาคออกมาเป็น พระมานุษิพุทธเจ้าทรงพระนามว่า 
พระศากยมุนี ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๔ หรือพระพุทธเจ้า องค์ปัจจุบันของภัทรกัป

๕. พระไวโรจนะธยานิพุทธเจ้า  ทรงนิรมานกายแบ่งภาคเป็น พระมานุษิพุทธเจ้าทรงพระนามว่า 
พระเมตไตรยพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ หรือ องค์สุดท้าย” ในภัทรกัปนี้

พระเมตไตรยพุทธเจ้ายังไม่มาตรัสรู้ตอนนี้  เพราะศาสนาของ พระศากยมุนีพุทธเจ้า” พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน  ยังไม่อันตรธานหายไปจากโลกนั่นเองโลกมนุษย์ไม่ได้มีเพียงโลกเดียวนะครับ  ในมิตินี้มี 6-9 โลกมนุษย์  แล้วมิติอื่นๆก็มีถึง 12 มิติ  คูณกันเอาเองนะครับว่ามีโลกมนุษย์กี่สิบกี่ร้อยโลกมนุษย์ นี่ยังไม่นับโลกของมนุษย์ต่างดาวนะครับ


1...เป็นไปไม่ได้ที่พระอมิตาภะพุทธเจ้าจะตรัสบอกว่าท่านอวตารจิตออกมาอย่างมาอย่างที่ลุงบอกมา นั้นไม่ใช่ท่านแน่นอน ลุงกำลังหลงนิมิตถูกมารเข้าสิงใจทำให้หลงทาง.. ผิดแท้ๆ

choksila58 โพสต์

2…อ้างจาก: กรัชกาย

          ....บางคนก็ว่าพี่บ้าไปแล้ว

ตอบ
       
      บุโรพุทโธ (Borobudur) เป็นหลักฐานที่ชี้ชัดว่า  ผมไม่ได้บ้าหรือมั่วเรื่อง: ฌานิพุทธเจ้า 5 องค์ เป็นแหล่งกำเนิดพระพุทธเจ้า 5 องค์(นะโมพุทธายะ)ในภัทรกัปนี้

                                                               
                              บุโรพุทโธ (Borobudur)
                                                                
                    ประวัติบุโรพุทโธถูกสร้างขึ้นโดยกษัตริย์แห่งราชวงศ์ไศเลนทร บุโรพุทโธเป็นสถูปแบบมหายาน สันนิษฐานว่าบุโรพุทโธสร้างราวคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 หรือ พุทธศักราช 1393 ตั้งอยู่ทางภาคกลางของเกาะชวา บนที่ราบเกฑุ ทางฝั่งขวาใกล้กับแม่น้ำโปรโก ห่างจากยอกยาการ์ตา ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 40 กิโลเมตร บุโรพุทโธสร้างด้วยหินภูเขาไฟประมาณ 2 ล้านตารางฟุตบนฐานสี่เหลี่ยม กว้างด้านละ 121 เมตร สูง 403 ฟุต เป็นรูปทรงแบบปิรามิด มีลานเป็นชั่งลดหลั่นกัน 8 ชั้น และใน 8 ชั้นนั้น 5 ชั้นล่างเป็นลาน 4 เหลี่ยม 3 ชั้นบนเป็นลานวงกลม และบนลานกลมชั้นสูงสุดมีพระสถูปตั้งสูงขึ้นไปอีก 31.5 เมตร เป็นมหาสถูปที่ระเบียงซ้อนกันเป็นชั้นๆลดหลั่นกันไป
                              
                              ลักษณะและสถาปัตยกรรมบุโรพุทโธ

                    เชื่อกันว่าแผนผังของบุโรพุทโธคงหมายถึง จักรวาลและอำนาจของ พระอาทิพุทธเจ้าได้แก่พระพุทธเจ้าผู้ทรงสร้างโลกในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ซึ่งแสดงโดยสถูปที่บนยอดสุดก็ได้แผ่ไปทั่วทั้งจักรวาล ซึ่งจักรวาลนี้แบ่งออกเป็น ๓ ตอน คือชั้นบนสุดได้แก่ อรูปธาตุชั้นรองลงมาคือ รูปธาตุและชั้นต่ำสุดคือ กามธาตุพระอาทิพุทธเจ้าในพุทธศาสนาลัทธิมหายานเองก็ทรงมี ๓ รูป (ตรีกาย) เพื่อให้ตรงกับธาตุ ทั้งสามนี้” “ธรรมกายตรงกับ อรูปธาตุส่วน สัมโภคกาย” (ประกอบด้วยพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์หลายองค์) ตรงกับ รูปธาตุและ นิรมานกาย” (ประกอบด้วยพระมนุษยพุทธเจ้า) สำหรับ กามธาตุธรรมกายที่ตรงกับ อรูปธาตุนั้นไม่มีภาพสลักตกแต่งแต่ก็มี เจดีย์ทึบล้อมรอบไว้โดยเจดีย์ทึบเจาะเป็นรูโปร่งสามแถวและมี พระพุทธรูปนั่งปางปฐมเทศนาอยู่ภายใน (ยังถกเถียงกันคือ บางท่านก็ว่าเป็น พระธยานิพุทธไวโรจนะแต่บางท่านก็ว่าเป็น พระโพธิสัตว์วัชรสัตว์ประจำองค์พระอาทิพุทธเจ้า) ส่วนฐานที่ถัดลงมาอีกสี่ชั้นได้แก่ รูปธาตุที่พระอาทิพุทธเจ้าได้สำแดงพระองค์ออกมาเป็น พระธยานิพุทธเจ้าห้าพระองค์คือ พระอักโษภวะปางมารวิชัยทางทิศตะวันออก, พระรัตนสัมภวะปางประทานพรทางทิศใต้, พระอมิตาภะปางสมาธิทางทิศตะวันตกและ พระอโมฆาสิทธะปางประทานอภัยทางทิศเหนือส่วนองค์ที่ห้านี้อยู่เหนือผนังฐานยอดสุดยังเป็นปัญหาเพราะทรงแสดง ปางแสดงธรรม” (วิตรรกะ) ที่บางท่านเชื่อว่าเป็น พระธยานิพุทธเจ้าองค์สูงสุดคือ พระไวโรจนะแต่พระไวโรจนะโดยปกติทรงแสดงปาง ประทานปฐมเทศนาก็เลยมีบางท่านเชื่อว่าพระพุทธรูปที่ทรงแสดงปาง ปางวิตรรกะบนฐานชั้นยอดสุดหมายถึง พระสมันตภัทรโพธิสัตว์เพราะ พระพุทธศาสนาลัทธิมหายานนิกาย โยคาจารย์ได้ยกย่องพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ขึ้นเสมอเหมือน พระธยานิพุทธเจ้าอีกพระองค์อีกทั้งภาพสลักบนผนังระเบียงชั้นที่สี่ก็เกี่ยวกับคัมภีร์ คัณฑพยุหะและ ภัทรจารีที่ยกย่องพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ขึ้นเป็น พระธยานิพุทธเจ้าส่วน พระธยานิพุทธไวโรจนะก็คือพระพุทธรูปนั่งประทานปฐมเทศนาในเจดีย์รายสามแถวนั่นเองและ พระธยานิพุทธเจ้าอีกสี่พระองค์คือ พระอักโษภยะ, รัตนสัมภวะ, อมิตาภะ, อโมฆสิทธะจึงประดิษฐานอยู่ในซุ้มเหนือฐานชั้นที่ ๑-๔ แต่ละทิศตามลำดับ แต่บางท่านก็เชื่ออีกว่าพระพุทธรูปในซุ้มบนยอดฐานชั้นที่ ๑ หมายถึง พระมนุษยพุทธเจ้าสี่พระองค์เพราะตรงกับกามธาตุได้แก่ พระโกนาคมทางทิศตะวันออก, พระกัสสปะทางทิศใต้, พระศรีศากยมุนีทางทิศตะวันตก, พระศรีอาริยเมตไตรยทางทิศเหนือด้วยเหตุนี้เมื่อมีผู้มากระทำประทักษิณโดยเดินเวียนขวารอบ บุโรพุทโธขึ้นไปแต่ละชั้นก็จะพ้นจากกามธาตุขึ้นไปยังรูปธาตุและอรูปธาตุตามลำดับโดย พระพุทธรูปในซุ้มเหนือฐานห้าชั้นมีทั้งหมด ๔๓๒ องค์ถ้านับรวมพระพุทธรูปในเจดีย์รายอีก ๗๒ องค์ก็มีจำนวนทั้งสิ้น ๕๐๔ องค์ 
                 
                    พระเจดีย์องค์ใหญ่ที่อยู่บนยอดสูงสุดของ บุโรพุทโธก็คือสัญลักษณ์แทนองค์ พระอาทิพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระพุทธเจ้า สูงสุดในคติพระพุทธศาสนานิกายมหายานที่เป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง ส่วน สถูปเจดีย์ที่มีรูปทรงโอ่งคว่ำเป็นแบบทึบนั้นก็คือสัญลักษณ์ของ อรูปธาตุ” (ไม่ปรากฏร่างกาย) และเป็นเพียงสัญลักษณ์พระสถูปเจดีย์ดังกล่าวอันเป็นพลังสากลทั่วไปที่แผ่ไปทั่ว สากลจักรวาลซึ่งก็คือพุทธานุภาพพุทธบารมีแห่งองค์ พระอาทิพุทธเจ้า” (อาทิหมายถึงต้นกำเนิดของสรรพสิ่งบนโลก) พระอาทิพุทธเจ้าทรง นิรมานกาย” (แบ่งพระวรกาย) ออกได้เป็นสามรูปที่เรียกว่า ตรีกายอันได้แก่ ธรรมกายคือเป็นอรูปธาตุ สัมโภคกายก็คือ การเนรมิตกายออกมาเป็น พระธยานิพุทธเจ้าและ พระโพธิสัตว์ผู้เป็นบริวารของพระองค์อันเป็นรูปธาตุของพระอาทิพุทธเจ้า นิรมานกายก็คือการเนรมิตกายของ พระธยานิพุทธเจ้าออกมาเป็น พระมานุษิพุทธเจ้าอีกขั้นตอนหนึ่ง (เป็นกายขั้นที่สาม) อันเป็นกามธาตุของพระอาทิพุทธเจ้า
                              
                    ส่วน ธรรมกายหรือ อรูปธาตุของพระอาทิพุทธเจ้าได้ถูกกำหนดสัญลักษณ์ออกมาเป็น พระสถูปเจดีย์ทรงโอ่งคว่ำทึบขนาดใหญ่องค์เดียวที่ถือเป็น ศูนย์กลางของบุโรพุทโธประดิษฐานอยู่บนลานชั้นยอดอันเป็นชั้นบนสุดของบุโรพุทโธ โดยไม่มีภาพสลักตกแต่งรายละเอียดใด ๆ และถัดออกมาเป็น พระสถูปเจดีย์เจาะสลักเป็นรูโปร่งสามแถวที่ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิเพชรแสดงปางปฐมเทศนา (จีบนิ้วพระหัตถ์) โดยมีพระสถูปเจดีย์และพระพุทธรูปประดิษฐานภายในทั้งหมด ๗๒ องค์และแบ่งออกเป็นแถวชั้นใน ๑๖ องค์ แถวชั้นกลาง ๒๔ องค์ และแถวชั้นนอก ๓๒ องค์ ทางด้านฐานของพุทธศาสนสถานบุโรพุทโธที่ถัดลงมาอีกสี่ชั้นเป็นสัญลักษณ์ของ รูปธาตุหรือ สัมโภคกายที่ พระอาทิพุทธเจ้าทรงเนรมิตกายของพระองค์ออกมาเป็น พระธยานิพุทธเจ้าห้าพระองค์คือ พระอักโษภยะธยานิพุทธเจ้าปางมารวิชัยประดิษฐานทางทิศตะวันออกของบุโรพุทโธ พระรัตนสัมภวะธยานิพุทธเจ้าปางประทานพรประดิษฐานทางทิศใต้ พระอมิตาภะธยานิพุทธเจ้าปางสมาธิประดิษฐานทางทิศตะวันตก พระอโมฆสิทธิธยานิพุทธเจ้าปางประทานอภัยประดิษฐานทางทิศเหนือและ พระไวโรจนะธยานิพุทธเจ้าปางแสดงธรรมประดิษฐานอยู่เหนือผนังชั้นยอดบนสุด

                  และในชั้นที่ ๑ มี พระพุทธรูปประดิษฐานในซุ้มบนยอดฐานเป็นพระพุทธรูปของ พระมานุษิพุทธเจ้าซึ่งอยู่ในระดับ กามธาตุหรือระดับของ โลกมนุษย์ที่ พระอาทิพระพุทธเจ้าคือพระพุทธเจ้าที่สูงสุดในคติของ พระพุทธศาสนานิกายมหายานได้นิรมานกายคือการ แบ่งภาคของพระองค์ออกมาเป็นพระอาทิพระพุทธเจ้าโดยใน ภัทรกัปนี้ทรงแบ่งภาคออกมาเป็น พระธยานิพุทธเจ้า ๕ พระองค์ด้วยกันคือ ๑. พระอักโษภยะธยานิพุทธเจ้าประจำอยู่ทางทิศตะวันออกของบุโรพุทโธและพระอักโษภยะธยานิพุทธเจ้านี้ทรงนิรมานกายแบ่งภาคออกมาเป็น พระมานุษิพุทธเจ้าที่ทรงพระนามว่า พระกกุสันโธพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าใน พุทธันดรที่ ๑ในภัทรกัปป์ ๒. พระรัตนสัมภวะธยานิพุทธเจ้าประจำอยู่ทางทิศใต้ของบุโรพุทโธที่ทรงนิรมานกายแบ่งภาคเป็น พระมานุษิพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระโกนาคมน์พุทธเจ้าซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าใน พุทธันดรที่ ๒ในภัทรกัปป์ ๓. พระอโมฆะสิทธิ์ธยานิพุทธเจ้าประจำอยู่ทางทิศเหนือของบุโรพุทโธทรงนิรมานกายแบ่งภาคเป็น พระมานิษิพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระกัสสปะพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าใน พุทธันดรที่ ๓ในภัทรกัปป์ ๔. พระอมิตภะธยานิพุทธเจ้าประจำอยู่ทางทิศตะวันตกของบุโรพุทโธทรงนิรมานกายแบ่งภาคออกมาเป็น พระมานุษิพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระศากยมุนีซึ่งเป็น พุทธันดรที่ ๔หรือพระพุทธเจ้า องค์ปัจจุบันของภัทรกัป ๕. พระไวโรจนะธยานิพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่ตรงกลางเหนือผนังชั้นบนยอดสุดของชั้นที่ ๕ ของบุโรพุทโธ (เปรียบได้กับการเป็นภาคกลางหรือทิศภาคกลาง) ทรงนิรมานกายแบ่งภาคเป็น พระมานุษิพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระเมตไตรยพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระพุทธเจ้า องค์สุดท้ายเป็น พุทธันดรที่ ๕ในภัทรกัปและเป็น พระอนาคตพุทธเจ้าที่ยังไม่มาตรัสรู้เพราะศาสนาของ พระศากยมุนีพุทธเจ้า” (พุทธันดรที่ ๔) ยังไม่อันตรธานหายไปจากโลกนั่นเอง
                              
                    ฐานชั้นล่างสุดซึ่งเป็นฐานชั้นที่ ๑ ของ บุโรพุทโธจะมีภาพสลักทั้งหมด ๑๖๐ ภาพโดยทุกภาพจะเป็นการเล่าเรื่องราวตาม คัมภีร์ธรรมวิวังค์ว่าด้วยเรื่อง กฎแห่งกรรมซึ่งก็คือเรื่องของ บาป บุญ คุณ โทษนั่นเองแต่ต่อมาภาพเหล่านี้ถูกลานประทักษิณขนาดใหญ่ (ลานที่เดินเวียนขวาตามพุทธสถาน) ทับถมไว้กระทั่งต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๒๘ นักโบราณคดีชาว ฮอลันดาได้ค้นพบภาพเหล่านี้โดยทำการรื้อลานประทักษิณออกและทำการถ่ายภาพ ภาพสลักทั้งหมดแล้วนำมาประกอบไว้ดังเดิมที่ปัจจุบันมีการเปิดแสดง ให้เห็นภาพสลักประมาณ ๒-๓ ภาพ ตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ เพราะภาพสลักทั้ง ๑๖๐ ภาพนี้ส่วนใหญ่สะท้อนให้เห็น วิถีชีวิตของชาวชวาใน พุทธศตวรรษที่ ๑๔ได้เป็นอย่างดีและผนังด้านในของของระเบียงชั้นที่ ๑ มีความสูง ๓.๖๖ เมตร ประดับตกแต่งด้วยภาพสลักแนวละ ๑๒๐ ภาพและระหว่างภาพจะมีลายก้านขดคั่นส่วนภาพแนวบนแสดงเรื่องราวของ พระพุทธประวัติฝ่ายมหายานตาม คัมภีร์ลลิตวิสูตรหรือ คัมภีร์ปฐมสมโพธิฝ่ายมหายานนับตั้งแต่การ เสด็จประสูติ, บำเพ็ญบารมีไปจนถึงการแสดง ปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตนสูตรส่วนภาพด้านล่างสลักภาพอธิบายเรื่องราวของ ชาดกและ นิยายอวตาร
                              
                    ทางด้านผนังด้านนอกของระเบียงชั้นที่ ๑ ของบุโรพุทโธนั้น เมื่อแก้ไขให้สูงขึ้นหลังจากที่มีการสร้างลานทักษิณรอบนอกแล้ว ผนังด้านในก็ยังมีการแกะสลักเป็น ภาพชาดกอีกโดยมีแนวบนทั้งหมด ๓๗๒ ภาพซึ่งเป็นการแสดงที่นำเค้าโครงเรื่องที่มาจาก ชาตกมาลา” (ชาดกมาลา) บทนิพนธ์ของท่าน อารยศูรและภาพในแนวล่างเล่าเรื่อง ชาดกและ อวตารอีกเช่นกันนอกจากนั้นบนยอดฐานแต่ละชั้นจะมีการก่อสลักหินเป็นซุ้มประดิษฐาน พระพุทธรูปอยู่ภายในโดยในซุ้มชั้นที่ ๑ สำหรับประดิษฐาน พระมานุษิพุทธเจ้าและซุ้มชั้นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปจะสลักลวดลายและประดับเพชรพลอยบนยอด โดยซุ้มที่อยู่สูงขึ้นไปบนยอดเป็นซุ้มสัญลักษณ์ของ พระธยานิพุทธเจ้าโดยใช้รูปสถูปเจดีย์จำลองเป็นสัญลักษณ์แทนและอยู่สูงขึ้นไป
                              
                    และในระเบียงชั้นที่ ๒ ด้านในของผนังชั้นนอกของบุโรพุทโธอาจจะมีการสลักเรื่อง ชาดกต่อแต่ยังไม่แล้วเสร็จส่วนผนังชั้นในสลักภาพสลักจำนวน ๑๒๘ ภาพและเล่าเรื่องราวตาม คัมภีร์คัณฑพยุหะซึ่งเป็นชาดกที่เล่าเรื่องราว พระสุธนกับนางมโนราห์ตอนที่ พระสุธนไปท่องเที่ยวศึกษาหาความรู้ที่ในตอนแรกได้พบกับ พระโพธิสัตว์มัญชูศรีก่อนแล้วจึงท่องเที่ยวหาความรู้ต่อไปแต่ในที่สุดก็ย้อนกลับมาหา พระโพธิสัตว์มัญชูศรีอีกครั้งและ ระเบียงชั้นที่ ๓ทั้งผนัง ชั้นนอกและชั้นในสลักเล่าเรื่องราวประวัติ พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยถึงในอนาคตหลังจากที่ พุทธันดรที่ ๔” (พุทธันดรในปัจจุบัน) สิ้นสุดลง พระโพธิสัตว์ศรีอาริยเมตไตรยก็จะเสด็จมาตรัสรู้เป็น พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระเมตไตรยพุทธเจ้าซึ่งก็คือ พระอนาคตพุทธเจ้านั่นเอง โดยรอบ ๆ ของ บุโรพุทโธตามฐานระเบียงชั้นต่าง ๆ มีการสลักภาพรวมแล้วได้ประมาณ ,๓๐๐ ภาพมีความยาวต่อกันเกือบ ๔ กิโลเมตร
                              
                    ทางทิศตะวันออกของบุโรพุทโธ เป็นประตูทางขึ้นหลักที่สำคัญของบุโรพุทโธที่ปรากฏ สิงห์ทวารบาลสลักด้วยศิลาตั้งอยู่ภายนอกทางขึ้นทั้งสองข้าง ส่วนประตูทางขึ้นของแต่ละทิศที่สามารถเดินผ่านตรงไปยังลานชั้นบนได้ประกอบด้วย ลายหน้าบาลและ ภมรในแต่ละชั้นจะมีท่อระบายน้ำโดยชั้นล่างจะสลักหินเป็น รูปกุมารมีคนแคระแบกรับไว้และชั้นบนสลักเป็น รูปหน้ากาลโดยลายหน้ากาลนี้จัดเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของ ศิลปะชวาที่มีความหมายว่า กาลเวลาย่อมกลืนกินสรรพสิ่ง ดังนั้นสัปปุรุษทั้งหลายพึงไม่ประมาทจึงจัดเป็น พุทธปรัชญามหายานได้เป็นอย่างดี

0 comments:

แสดงความคิดเห็น