A A

15 สิงหาคม 2558

ทำเวร กับ ทำกรรมต่างกันอย่างไรในกรณีของสุนัขและแมว + ถาม-ตอบ‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏‏

เข้าใจเรื่องบาปกรรม และเวรกรรมกันใหม่

ฐิตา :



สุนัขและแมวเป็นหนี้บุญคุณมนุษย์ผู้ให้อาหาร ที่อยู่อาศัย ที่ปลอดภัย และการดูแลในยามเจ็บไข้ได้ป่วย ยิ่งกว่านั้นความสัมพันธ์กับมนุษย์ใจดีและยุติธรรมยังมีผลดีต่อการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารของสัตว์เลี้ยงด้วย เพราะฉะนั้นมนุษย์มีสิทธิตั้งข้อเงื่อนไขกับสัตว์ที่ตนเลี้ยงบ้าง หากไม่เป็นการเบียดเบียน หรือเอารัดเอาเปรียบจนเกินไป

ในกรณีผู้เลี้ยงต้องการทำหมันสัตว์เลี้ยงเพื่อคุมกำเนิด ช่วยลดภาระและปัญหาของตัวเองและสังคม เมื่อเจตนาก็ไม่โหดร้าย วิธีทำหมันไม่ทรมานและไม่อันตราย สัตว์เลี้ยงทำหมันแล้วยังใช้ชีวิตสะดวกสบายได้ ชาวพุทธเราไม่ต้องรังเกียจ


ธรรมะ โดย พระอาจารย์ชยสาโร/
Dhamma by Ajahn Jayasaro


ตอบ

พระอาจารย์ชยสาโร ไม่กล้าตอบหรืออย่างไรว่า การทำหมันสัตว์เป็นบาปหรือเป็นบุญ แล้วก็ยังสอนกำกวม อ้างว่า... "มนุษย์มีสิทธิตั้งข้อเงื่อนไขกับสัตว์ที่ตนเลี้ยงบ้าง หากไม่เป็นการเบียดเบียน หรือเอารัดเอาเปรียบจนเกินไป..... ช่วยลดภาระและปัญหาของตัวเองและสังคม เมื่อเจตนาก็ไม่โหดร้าย วิธีทำหมันไม่ทรมานและไม่อันตราย สัตว์เลี้ยงทำหมันแล้วยังใช้ชีวิตสะดวกสบายได้ ชาวพุทธเราไม่ต้องรังเกียจ"


เมื่อพระอาจารย์ชยสาโร ไม่ตอบให้ชัดเรื่องเวรกับกรรม ผมจะตอบให้เอง

1. เมื่อจิตของเรามีเจตนาอันเป็นกุศล บาปกรรมย่อมไม่มี มีแต่บุญ ถ้าเจ้าของสัตว์ทำหมันสัตว์เลี้ยงเพื่อคุมกำเนิด ช่วยลดภาระและปัญหาของตัวเองและสังคม เจตนาจิตแบบนี้คือบุญชัดๆ

2. แม้ว่าบาปกรรมจะไม่เกิด แต่เวรกรรมเกิดได้ สัตว์เลี้ยง เช่น แมวตัวเมีย จะเจ็บ เพราะมันไม่เข้าใจว่า เราไปทำร้ายมันเพราะอะไร มันไม่รู้ด้วยว่า มันจะให้กำเนิดแมวอีก 20 ตัวในอนาคต แล้วใครจะเลี้ยงแมวเหล่านี้ และลูกๆของมันจะเป็นแมวจรจัดอดอยาก เป็นภาระของสังคมมนุษย์

หลวงพ่อจรัลเคยปาท่อนไม้ออกนอกกุฏิ ไปถูกหมาตัวหนึ่งโดยไม่ตั้งใจ บาปกรรมไม่เกิดขึ้นกับท่าน เพราะไม่มีเจตนาอกุศล แต่เวรกรรมเกิดขึ้น เพราะหมาตัวนั้นมันเจ็บ มันไม่รู้ใครปามัน มันจึงส่งพลังจิตคือความแค้นไปให้หลวงพ่อจรัล ทำให้วันหนึ่ง หลวงพ่อจรัลกำลังเทศน์สอนเรื่องกรรมอยู่ จู่ๆก็มีท่อนไม้ที่โดนลมแรงพัดมา กระทบถูกหัวของท่านแตก...นี่แหละคือเวรกรรมที่หลวงพ่อจรัลได้รับ

แต่ถ้าไอ้หมาตัวนั้น มันรู้ว่าเป็นหลวงพ่อจรัลที่ปาท่อนไม้ออกไปกระทบถูกมันโดยไม่ตั้งใจ มันก็ให้อภัยและอโหสิกรรมให้หลวงพ่อจรัล เพราะหลวงพ่อจรัลเป็นผู้มีพระคุณให้ข้าวให้น้ำมันกินประจำ

แมวที่โดนทำหมันก็เหมือนกัน มันส่งพลังความแค้นออกมาให้กับคนที่ทำมันเจ็บ เวรกรรมจึงมี ตอนหลังเมื่อมันรู้ว่า เป็นเจ้าของมันเป็นผู้ทำให้มันเจ็บ มันก็ให้อภัยและอโหสิกรรมให้เจ้าของ เวรกรรมนั้นจึงหมดไป ส่วนบาปกรรมไม่มีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น เพราะผู้เป็นเจ้าของแมวทำบุญเพื่อลูกหลานของมันและเพื่อสังคมมนุษย์

ถาม-ตอบ

พูดได้ดีนะครับกระทู้นี้ แต่ก็ยังคงสับสนอยู่บ้างนะครับคุณพลศักดิ์
บาปก็คือบาปครับ กรรมก็คือกรรมครับ คำว่า "บาปกรรม" ไม่ได้มีความหมายเดียวกัน
บาป คือ จิตอกุศล กรรมคือการกระทำ
ผลจากกรรมฝ่ายไม่ดี คือผลจากอกุศลกรรม มักเรียกกันว่ากรรม หรือ เวรกรรม ผิด..ผิด..ผิด..ผิด....ผิด..ผิด..ผิด..
phonsak
แต่ผลกรรมฝ่ายดี จะเรียกกันว่าอานิสงส์
บาปบุญเกิดขึ้นเพราะจิต จะไม่เกิดก็เพราะจิต

ตอบ

จิตกุศล หมายถึง กรรมคือการกระทำที่ทำเป็นบุญ ไมใช่เป็นบาป แม้การกระทำนั้นจะดูเหมือนผิดศีล 5 บาปกรรมนั้น หมายถึงต้องทำด้วยจิตและมีกายหรือวาจาช่วยทำด้วย จึงจะเรียกว่า "บาปกรรม" หรือทำเวรกรรม

เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ แปลว่า เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม ให้ดูที่ใจเป็นหลัก

ตัวอย่างของการก่อเวร แต่ไม่ได้ก่อกรรม

ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์เคยเป็นนายโคบาล ต้อนแม่โคไปสู่ที่หากิน เห็นแม่โคดื่มน้ำขุ่นนายโคบาลจึงห้ามไว้ แม้ว่านายโคบาลนั้นหวังดีมีกุศลจิตต่อโค ไม่ได้ก่อกรรมกับโค

แต่ท่านก็ได้ก่อเวรกับโค ในภพสุดท้าย พระพุทธองค์กระหายน้ำ จึงไม่ได้ดื่มน้ำตามต้องการ เพราะเคยให้พระอานนท์ไปตักน้ำมาถวาย พระอานนท์ไปแล้วไม่ตักมาบอกว่าน้ำขุ่น พระพุทธองค์จึงต้องตรัสย้ำให้ไปตักใหม่เป็นครั้งที่สอง จึงได้น้ำใสกลับมาเพราะน้ำขุ่นนั้นกลับใส

นายโคบาลไม่ให้โคกินน้ำ เพราะน้ำขุ่นสกปรก พระพุทธองค์ไม่ได้ก่อกรรมก็จริง แต่ท่านได้ก่อเวร เป็นผลให้ชาติที่ท่านเป็นพระพุทธเจ้าต้องอดน้ำ

ด้วยเหตุนี้ ในกรณีที่เรามีเจตนาดี แต่ขาดปัญญา เราก็ก่อเวรได้ แต่ไม่ได้ก่อกรรม ก่อเวร ผลที่ได้รับจากการก่อเวรอาจจะเป็นอุบัติเหตุก็ได้ เช่น หลวงพ่อจรัญขว้างไม้ไปโดนหัวหมาโดยไม่ตั้งใจ วันนึงก็มีลมแรงมาก พัดกิ่งไม้มาโดนหัวหลวงพ่อแตก

อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ที่เราก่อเวร ไม่ใช่ก่อกรรมกับเขา เขาให้อภัย และอโหสิกรรมให้เรา เวรนั้นก็จะหมดไป หลวงพ่อจรัญบอกว่า ถ้าหมาตัวนั้น ท่านรู้จัก และมันรู้จักท่าน หรือเคยให้ข้าวมันกิน มันก็คงไม่จองเวรกับท่าน

ในกรณีพระพุทธเจ้า โคตัวนั้น มันก็ไม่รู้ใจพระพุทธเจ้าว่า ท่านหวังดีกับมัน น้ำมันโสโครก กินไม่ได้ ถ้ามันรู้ว่าพระพุทธเจ้าหวังดี ต้องการช่วยมัน มันก็คงอโหสิกรรมให้ท่าน เวรนั้นท่านก็จะไม่ได้รับ

ตัวอย่างของการก่อกรรมที่เรียกว่า ก่อกรรม+ก่อเวร

ชาติหนึ่ง พระพุทธเจ้าเคยเป็นเด็กชาวประมง ในหมู่บ้านชาวประมง ท่านเห็นชาวประมงฆ่าปลาก็มีความชื่นชม และสะใจ ด้วยผลของกรรมนั้น ท่านจึงเกิดเจ็บที่ศีรษะ ในขณะที่วิทูฑภะฆ่าพวกศากยะในกรุงกบิลพัสด์

แต่พึงสังเกตว่า แม้ว่าพระพุทธองค์จะเป็นชาวประมง ซึ่งต้องจับปลา และฆ่าปลามามาก แต่พระพุทธองค์ไม่ได้กล่าวถึงกรรมที่ท่านได้กระทำการทางกาย ในการจับปลาและฆ่าปลาเหล่านั้นเลย ทั้งนี้เพราะว่า สิ่งใดจะเป็นก่อกรรม+ก่อเวร = ก่อเวรกรรมได้ จะต้องทำทั้งกายวาจาใจ เพราะว่า:

เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ แปลว่า เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม

"เจตนาว่าเป็นกรรม" เจตนามีทั้งทั้งกาย วาจา และใจ แต่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จที่ใจ ไม่ใช่สำเร็จที่วาจาและกาย

ดังนั้น บาป จึงเกิดจากใจเป็นอกุศล ตอนที่ตั้งใจเจตนาทำกรรมนั้นลงไป

ส่วนวาจาและกายเป็นแต่เครื่องมือของใจเท่านั้น ถ้าใจไม่ได้มีเจตนาอกุศล แต่เจตนาเป็นกุศล การกระทำทางวาจาและกายนั้น ก็ไม่ได้ทำบาปกรรม แต่ถือว่าทำมหาบุญ เพราะกายและวาจากล้าผิดศีล 5 ทำในสิ่งที่ใจบอกว่าเป็นบุญ

ส่วนพระพุทธองค์ซึ่งเป็นชาวประมง ต้องจับปลา ชาวประมงไม่ได้ก่อกรรม เพราะเป็นอาชีพ จิตไม่ได้คิดเป็นอกุศลจึงไม่บาป เพียงแต่ชาวประมงก่อเวรกับบรรดาปลา และชาติที่เป็นพระพุทธเจ้า ชาวประมงคนนี้ได้ใช้เวรให้กับพวกปลาเหล่านั้นแล้ว โดยการสอนทางเข้านิพพานให้


0 comments:

แสดงความคิดเห็น