A A

15 สิงหาคม 2558

1.นิพพานเป็นอัตตา + 2.ปรินิพพาน คือ 'พระนิพพานแท้' หรือ 'มหาสุญญตา' หรือ 'จักรวาลเดิม' + 3.ธรรมกาย คือ อายตนะนิพพาน สิ่งนี้เป็นอัตตา + 4. นิพพานคือธรรมกาย

1. นิพพานเป็นอัตตา

"อัตตา" ที่เป็นคู่กับ อนัตตา  อนัตตา = อัตตานุทิฎฐิ หรืออุปาทาน  อัตตาตัวนี้เป็นความเข้าใจผิดของมนุษย์ว่า ขันธ์ 5 หรือร่างกายของเรามีตัวตน(อัตตา)
พระพุทธองค์จึงเปลี่ยนเรียกชื่อ "อัตตา" ที่เป็นขันธ์ 5….ร่างกายของเราที่บอกว่ามีตัวตน เป็น อัตตานุทิฎฐิ หรืออุปาทาน  แล้วเรียก "อัตตา" ที่เป็นขันธ์ 5 ว่า  "อนัตตา"

ส่วน "อัตตา" ที่พระพุทธองค์ให้นิยามไว้ในอนัตตลักขณะสูตร = สิ่งที่เที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา

พูดง่ายๆ

สิ่งที่ไม่เป็นอมตะ  ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย = อนัตตา หรือ "อัตตา"เก๊ = อัตตานุทิฎฐิ  = อุปาทาน

สิ่งที่เป็นอมตะ  ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย =  "อัตตา" ที่พระพุทธเจ้าพูดถึงในอนัตตลักขณะสูตร

ทัศนะของหลวงตามหาบัว

ในปีหนึ่งหลวงตามหาบัวพูดว่า 1. พระนิพพาน เป็นอัตตา ไม่สูญ หลวงตามหาบัวพูดชัด เป็นอัตตาไม่น่าจะผิด
สิ่งนี้คือ อัตตาแท้ ที่ระบุในอนัตตลักขณะสูตรว่า เป็นสิ่งที่เที่ยง ไม่ทุกข์ ไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา

อีกปีหนึ่งหลวงตามหาบัวพูดว่า 2. นิพพานมีหนึ่งเท่านั้นไม่เคยมีสอง ไม่มีสองกับอัตตา ไม่มีสามกับอนัตตา

พูดอย่างนี้มันต้องตีความ เพราะพูดไม่ชัด

ผม Phonsak ขอยกคำพูดของหลวงตามหาบัว ที่พูดชัดๆมาเลย:
ปีที่ 2 ฉบับที่ 590 วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 แรม 3 ค่ำ ...
พระนิพพาน เป็นอัตตา ไม่สูญ หลวงตามหาบัวพระนักปฏิบัติพูดชัด เป็นอัตตาไม่น่าจะผิด 

2. ปรินิพพาน คือ "พระนิพพานแท้" หรือ "มหาสุญญตา"หรือ "จักรวาลเดิม"

Phonsak เขียน:

1. อัตตา  ตัวตน ของมนุษย์และสัตว์โลกต่างๆเป็นอัตตาอุปาทาน(อัตตานุปาทาน) เป็นอัตตาที่เกิดจากทิฎฐิ(อัตตานุทิฎฐิ)  เป็นคนละตัวตนกับตัวตนในนิพพาน  ซึ่งเป็นตัวตนแท้จริง ที่เป็นอมตะ ไม่มีวันตาย  จะนิรมิตกายเป็นอะไรก็ได้  หรือไม่เนรมิตอะไรออกมาก็ได้

ถ้า
นิพพานหรือมหาสุญญตา(จิตบริสุทธิ์ที่กำจัดกิเลสออกหมดแล้ว)  นิรมิตกายออกมา ก็จะเนรมิต 2 แบบ คือ ธรรมกาย และกายทิพย์สัมโภคกาย  ทั้งธรรมกาย และกายทิพย์สัมโภคกายนั้น ก็ถือว่าเป็นอัตตา เพราะเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย  และจะแปลงเป็นอะไรก็ได้ทั้งนั้น

2. ถ้า "มหาสุญญตา"หรือ "จักรวาลเดิม" หรือ "พระนิพพานแท้" ไม่เนรมิตร่างอะไรออกมา  จะอยู่เป็นจิตบริสุทธิ์ปภัสสรอย่างเดียวก็ทำได้ จิตจะสงบอยู่ในนิโรธ  จิตสูญจากกิเลส สูญจากความคิดปรุงแต่งทั้งปวง  ดับทั้งสัญญา(ความจำ) ดับทั้งเวทนา(ความรู้สึก)  

"พระนิพพานแท้" หรือ "มหาสุญญตา"หรือ "จักรวาลเดิม" นี่คือ ปรินิพพาน  เป็นจิตว่างๆอยู่ในความว่างของจักรวาล

3. พึงเข้าใจด้วยว่า
คำว่า นิพพาน หมายถึง มีกาย อยู่ร่วมกับจิต  ที่เรียกว่า  ธรรมกาย และสัมโภคกาย 
คำว่า ปรินิพพาน หมายถึง อยู่เป็นจิตว่างๆ  ไม่มีกาย
คำว่า ดับขันธ์ปรินิพพาน หมายถึง ดับกายมนุษย์ที่เป็นขันธ์ 5 แล้วพุ่งตรงไปเป็นจิตว่างๆ แต่จะมีกาย ซึ่งเป็นธรรมกาย และสัมโภคกาย หรือจะไม่มีกาย มีแต่จิตว่างๆ อันนี้ไม่ได้บอก ที่แน่ๆกายมนุษย์ปรินิพพานไปแล้ว  คือ ไม่มีกายมนุษย์อยู่อีก

3. ธรรมกาย คือ อายตนะนิพพาน สิ่งนี้เป็นอัตตา

อ้างจาก: mes

ถามพี่พล
ธรรมกายคืออะไร
ในเมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า
พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น 

ตอบ

พระอวโลกิเตศวรตรัสว่า : ธรรมกาย คือ อายตนะนิพพาน, พระพุทธเจ้าตรัสว่า : ธรรมกาย เป็น อัตตา

อ้างอิง 1. [ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร พระอวโลกิเตศวรสอนพระสารีบุตรว่า
" ธรรมกาย ก็คือปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นสภาวธรรมแห่งพระตถาคตตรัสรู้
ก็คืออายตนะนิพพานนั้นเอง ย่อมปราศจากการมาในอดีต ฤาการไปในอนาคต แลในปรัตยุบันกาลเล่าก็ปราศจากการตั้งอยู่มั่นคง "

อ้างอิง 2. [ ขุทฺทกนิกาย จริยา อรรถกถาปกิณณกกถา เล่ม 74 หน้า 571
"...หรือบารมีย่อมตักตวงคุณมีศีลเป็นต้นอื่นไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง หรือบารมีย่อมทำลายปฏิปักษ์อื่นจาก ธรรมกายอันเป็นอัตตา...."

อ้างอิง 3. [จากหนังสือชุมนุมบทความของหลวงปู่เปรม (เปมงฺกโร ภิกขุ) วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร
  ------- เปมงฺกโร ภิกฺขุ--------
จิตบริสุทธิ์พ้นจากอำนาจวัฏฏะ ๓ คือ กิเลส กรรม วิบาก เป็นตัวธรรม เป็นสัจจะธรรม คือ นิโรธสัจจ์ คู่กับ ทุกขสัจจ์นั้น และเป็นอัตตาตัวตน ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า

อตฺตทีปา วิหรถ อตฺตสรณา อนญฺญสรณา
ธมฺมทีปา วิหรถ ธมฺมสรณา อนญฺญสรณา แปลว่า
ท่านทั้งหลาย จงมีตนเป็นที่เกาะกุม มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ดังนี้

ตน คือ ธรรม / ธรรม ก็คือ ตน
ธรรม คือ จิตที่บริสุทธิ์ เป็นวิมุตติจิต เป็นอมตธรรม  ตนเป็นธรรมที่ไม่ตาย  ถ้าตนมีกายเรียกว่านิพพาน หรือเรียกว่าธรรมกายก็ได้.  พระพุทธเจ้าเรียกว่าอายตนะนิพพาน
ตนถ้าเป็นธรรมที่ไม่ตาย แต่ไม่มีกาย เรียกว่า ปรินิพพาน หรือเรียกว่าธรรม (จิตที่บริสุทธิ์ หรือ วิมุตติจิต)

สรุป

อายตนะนิพพาน คือ ธรรมกาย คือ จิตบริสุทธิ์พร้อมกาย คือ ธรรมที่มีกาย คือ นิพพาน

4. นิพพานคือธรรมกาย ธรรมกายเป็นอัตตา

คุณพระนายอ้างว่า:

ฮ่า ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ธรรมกายเป็นอัตตา ไม่มีใน  พระไตรปิฎก 84000 ธรรมขันธ์
และ  เป็น  การมั่วของ  Phonsak อีกแล้วครับ  ท่านผู้ชม
ฮ่า ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

พลศักดิ์ตอบ

ไอ้หอกหัก แล้วนี่คืออะไรวะ   ขุทฺทกนิกาย จริยา อรรถกถาปกิณณกกถา เล่ม 74 หน้า 571

"...หรือบารมีย่อมตักตวงคุณมีศีลเป็นต้นอื่นไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง หรือบารมีย่อมทำลายปฏิปักษ์อื่นจาก ธรรมกายอันเป็นอัตตา...."

อนัตตลักขณสูตร บอกชัดเจนเลย  แต่คุณและนักปริยัติทั้งประเทศตีความไม่ได้เท่านั้น เพราะไม่ได้ปัญญาทางพระพุทธศาสนาที่เกิดจากการปฏิบัติ

1. ในอนัตตลักขณสูตรนั้น พระพุทธองค์ให้นิยามคำว่า "อัตตา" ไว้ชัดเจน

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย....
ถ้ารูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) นี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ว่า รูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย "


จากท่อนจบที่พระพุทธเจ้าถามปัญจวัคคีย์

ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา?

ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. = อนัตตา

สรุป

ถ้ามีรูป (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ใด ที่ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสิ่งนั้นว่า ขอให้มันเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าเป็นอย่างนี้เลย สิ่งนั้นก็เป็น "อัตตา"

2.  อัตตานุทิฎฐิ หรือ อัตตวาทุปาทาน สิ่งนี้เป็นอุปาทาน หรือ เป็นมิจฉาทิฎฐิ บางท่านเรียกว่า อัตตาของโลก

อัตตานุทิฎฐิ = ผู้ที่ยึดมั่นในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่าเป็นตัวตน(อัตตา)ของเรา ทั้งๆที่มันเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน(อัตตา)ของเรา เขาหลงยึดมั่นถือว่าเป็นอัตตา เป็นตัวตนของเขา

ไปหาอ่านนะครับ ในพระสูตรนี้ ขันธสังยุตต์ - จุลปัณณาสก์ - ทิฎฐิวรรค - ๗. อัตตานุทิฎฐิสูตร

3. อัตตา เท่ากับ สิ่งที่เที่ยง ไม่เป็นทุกข์ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา

แล้วอะไรล่ะที่เป็นอัตตา....ก็อสังขตธาตุ ยังไงล่ะ ดูลักษณะของอสังขตธาตุ(อัตตา)นะครับ

ลักษณะของอสังขตธาตุ(อัตตา)

อสังขตธาตุ หมายถึง ธาตุที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง และมีลักษณะความเกิดไม่ปรากฏ ๑ ความเสื่อมสลายไม่ปรากฏ ๑ เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนไม่ปรากฏ ๑

ภิกษุ ท.! อสังขตลักษณะ ของอสังขตธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่
สามอย่างอย่างไรเล่า? สามอย่างคือ :-
๑. ไม่ปรากฏมีการเกิด = ไม่เกิด
๒. ไม่ปรากฏมีการเสื่อม = ไม่แปรปรวน(แก่ เจ็บ ตาย)
๓. เมื่อตั้งอยู่ ก็ไม่มีภาวะอย่างอื่นปรากฏ = ไม่แปรปรวน(แก่ เจ็บ ตาย)

ภิกษุ ท.! สามอย่างเหล่านี้แล คืออสังขตลักษณะของอสังขตธรรม.

4. พระพุทธเจ้าตรัสชัดเจนที่สุดใน พระสูตรนี้ว่า ธรรมกายเป็นอัตตา
อ้างอิง 2.[ ขุทฺทกนิกาย จริยา อรรถกถาปกิณณกกถา เล่ม 74 หน้า 571

"...หรือบารมีย่อมตักตวงคุณมีศีลเป็นต้นอื่นไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง หรือบารมีย่อมทำลายปฏิปักษ์อื่นจาก
ธรรมกายอันเป็นอัตตา....

สรุปแบบโคตรสรุป

จากอนัตตลักขณสูตร - สิ่งที่เป็นอัตตา ต้อง

1. ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ คือไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย
2. บุคคลพึงได้ในสิ่งนั้นว่า ขอให้มันเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าเป็นอย่างนี้เลย คือ จะสั่งให้มันเป็นอย่างไรก็ได้

และพระพุทธเจ้าก็ตรัสแบบชัดเจนที่สุด  ไม่มีอะไรชัดกว่านี้แล้วครับ ใน พระสูตรขุทฺทกนิกาย จริยา อรรถกถาปกิณณกกถา เล่ม 74 หน้า 571 นี้ว่า ธรรมกายเป็นอัตตา

ด้วยเหตุนี้ ธรรมกาย จึงเป็นตัวทนแท้จริง เป็นอสังขตธาตุ ที่เป็นอมตะ ไม่มีวันตาย  และยังสามารถนิรมิตกายเป็นอะไรก็ได้  หรือไม่เนรมิตกายอะไรออกมาก็ได้ จะดำรงอยู่เป็นจิตปภัสสรบริสุทธิ์ เป็นแสงสุกสกาว  หรือจะเป็นจิตที่ไม่มีรูปอะไรก็ได้(อรูป)

2 ความคิดเห็น:

  1. พลศักดิ์ตอแหลครับแกล้งพูดความจริงไม่หมด ในอรรถกถานี้อัตตาเป็นอัตตาของพระโพธิสัตว์จึงเป็นอัตตาสมมติไม่ใช่อัตตาแท้ ธรรมกายคือคุณธรรมที่พระโพธิสัตว์สั่งสมมาจนเป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นสิ่งไม่เที่ยงเพราะพระโพธิสัตว์ไม่ใช่พระอริยบุคคลยังกลับกลอกกลับกลายได้
    อัตตาแท้ไม่มีหรอกครับเพราะอัตตาแท้มีคุณสมบัติดังนี้
    1.นิจจัง เที่ยง อมตะ คงที่ ไม่แปรปรวน
    2.อยู่ในอำนาจควบคุมได้
    สิ่งที่นิจจัง เที่ยง อมตะ คงที่ ไม่แปรปรวนแล้วอยู่ในอำนาจควบคุมได้ไม่มีครับ สิ่งที่คงที่ก็ต้องควบคุมไม่ได้ ใครคิดว่าสิ่งที่เที่ยง คงที่เป็นสิ่งที่ควบคุมได้คนนั้นโง่มากครับ

    ตอบลบ
  2. จากเม้นท์คุณ sorote ก็เป็นความเห็นอีกมุมนึงที่ดีนะครับ แต่คนเราเสียอยู่อย่างหนึ่งครับ เมื่อมีใครเห็นไม่ตรงกับตัวก็ชอบต่อว่าหรือตำหนิด้วยคำต่างๆนาๆ สิ่งนี้อาจจะเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้เราต้องมาติดกันอยู่ที่นี่ก็ได้นะครับ การมีมุมมองที่ต่างกันก็ไม่ได้หมายความว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉลาดกว่ากันนะครับ

    ตอบลบ