A A

6 พฤษภาคม 2558

ธรรมกายคือจิตว่าง หรือ นามเดิมที่เป็นความว่างของจักรวาล

อ้างถึง

และนามเดิม คือความว่างจ่ะ  ความว่างของจักรวาลจ่ะ
ไม่ใช่นิพพานจ่ะ ไปหัดอ่านจิตพุทธะมั่งน่ะจ่ะ

dhammajak โพสต์ 

ตอบ

ก็นามเดิม คือความว่าง นั่นแหละดีที่สุดแล้ว  ความว่างของจักรวาล คือธรรมกาย หรือ อายตนะนิพพาน  

ฮวงโป  
ธรรมกายที่แท้จริงของพุทธะ   ธรรมกายคือความว่าง หรือความว่างคือธรรมกาย"

อธิบาย  นาม(จิต)ที่ว่าง  มันย่อมสร้างกายที่ว่าง คือธรรมกาย และกายทิพย์สัมโภคกาย  ความทุกข์ใดๆจะเข้าไปในความว่างย่อมไม่ได้  ความทุกข์ทุกอย่างมันวนเวียนอยู่รอบนอกความว่างทั้งนั้น  นั่นแหละดีที่สุดอยู่แล้ว

แต่พวกเราดันทะลึ่งเอาความทุกข์เหล่านั้นเข้ามาในนาม(จิต) ไม่ปล่อยวาง ไปยึดถือ ยึดมั่นในความทุกข์ทางโลกเอง  เราก็ย่อมเป็นทุกข์  แต่ถ้านาม(จิต)ดวงนั้นปล่อยวาง  และไม่ยึดมั่นถือมั่น  ปล่อยวางแม้แต่บุญบาป  นาม(จิต)จะว่างอีกครั้ง เหมือนที่เป็นมาในจักรวาลเดิม คือ เป็นจิตที่ว่างและวางอย่างเดียว  สิ่งนั้นนั่นแหละคือ นิพพานอันไม่มีทุกข์

แต่เดิมพวกเราอยู่ในนิพพานอยู่แล้ว  ไม่มีความทุกข์อยู่แล้ว  แต่พวกเราดันออกมาจากภาวะจิตว่าง  พวกเราจึงเป็นผู้นำเข้าความทุกข์  และตกลงมาอยู่ใน 31 ภพภูมิ  แทนที่จะอยู่ในนิพพานบ้านเดิมของเรา

"ธรรมกาย หรือ กายธรรม" ในพระไตรปิฎกเถรวาท

พุทธศาสนาเถรวาทได้กล่าวถึงกายของพระพุทธเจ้าไว้ว่ามี  2 กาย คือ

รูปกาย คือ กายที่เป็นมนุษย์ธรรมดาเป็นไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ และเสื่อมสลายเมื่อถึงกาลอันควร

"ธรรมกาย หรือ กายธรรม" คือ กายซึ่งเป็นอมตะ และ ดำรงอยู่ชั่วนิจนิรันดรโดยไม่ขึ้นกับกาลเวลา

หลักฐานการมีอยู่ของ "ธรรมกาย หรือ กายธรรม"บางส่วนในพระไตรปิฎกเถรวาท

1. ที.ปา. อัคคัญญสูตร 11/55/91-92 ในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้า 92 ฉบับบาลี ปี พ.ศ. 2525 ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า

ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปี พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิฯ

"ดูก่อนวาเสฏฐะ อันว่า คำว่า "ธรรมกาย" ก็ดี "พรหมกาย" ก็ดี "ธรรมภูต" ก็ดี ผู้ที่เป็นธรรมก็ดี หรือ "พรหมภูตะ" ผู้ที่เป็นพรหมก็ดี นี้แหละเป็นชื่อของเราตถาคต"

2. ขุ.อป. อัตถสันทัสสกเถราปทาน อปทาน 32/139/243 ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ 32 ข้อ 139 หน้า 243 บรรทัดที่ 1 ฉบับบาลี ปี 2525 ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า

...ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺติ โก ทิสฺวา นปฺปสีทติฯ

"บุคคลใดยัง "ธรรมกาย" ให้สว่างแล้วทั้งสิ้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย อันบุคคลทั้งหลายไม่มีผู้ใดจะทำร้ายได้ ใครเล่าเมื่อเห็นแล้วจะไม่ปลาบปลื้มยินดีนั้น ไม่มี"

3. ขุ.อป. ปัจเจกพุทธาปทาน 32/2/20 ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ 32 ข้อ 2 หน้า 20 บรรทัดที่ 9 ฉบับบาลี ปี 2525 ได้กล่าวถึงว่า

...ภวนฺติ ปจฺเจกชินา สยมฺภูฯ มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา...

"พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมอันใหญ่ มี "ธรรมกาย" มาก"

4. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สรภังคเถรคาถา ข้อ 365

...เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่า "สรภังคะ" ไม่เคยได้เห็นโรค คือ อุปาทาน ขันธ์ 5 ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น โรคนั้น อันเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่

ได้เห็นแล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า วิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสป ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า "โคดม" ก็ได้เสด็จไปแล้วโดยทางนั้น

พระพุทธเจ้า 7 พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติแท้โดย
"ธรรมกาย" ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ อริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ (สมุทัย) ความดับทุกข์ (นิโรธ) ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ (มรรค) เป็นทางไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตกและเพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง

ปรินิพพานเป็นคนละตัวกับธรรมกาย

พุทธนิทัสสนปัญหาที่ 58

ถ. "พระองค์จะทรงพระดำริเห็นความข้อนั้นเป็นไฉน: เปลวแห่งกองไฟ
อันใหญ่ที่ลุกโพลงอยู่ดับไปแล้ว พระองค์จะทรงสามารถชี้ได้หรือว่าอยู่ที่นี้หรือที่นี้."
ร. "ไม่สามารถเลย เพราะว่าเปลวไฟนั้นดับแล้ว ถึงความไม่มีบัญญัติเสียแล้ว."
ถ. "ข้อนั้นฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว
ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ใคร ๆ ไม่สามารถจะชี้ได้ว่า 'อยู่ที่นี้หรือที่นี้' ดังนี้.
ก็แต่ว่าสามารถจะชี้ได้ด้วยธรรมกาย, เพราะว่าพระธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว."

0 comments:

แสดงความคิดเห็น