A A

17 พฤษภาคม 2558

อายตนะ(กายจิต)นิพพานเป็นอัตตา-ใช่ตัวตน อายตนะ(กายจิต)อื่นๆเป็นอนัตตา-ไม่ใช่ตัวตน เป็นภาพมายาเสมือนจริง‏‏‏‏‏‏‏

คุณchartเขียนว่า: นิพพานธาตุ มีลักษณะ คงทนถาวร ไม่มีที่สิ้นสุด จึงเป็นอมตธาตุ บางที เราเรียก นิพพาน ว่าเป็นอายตนะอย่างหนึ่ง ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสอธิบายไว้ดังนี้

.....ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 อายตนะ นั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตน อากิญจัญญายตน เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์ และ พระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการจุติ เป็นการอุปบัติอายตนะนั้น หาที่อาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แล เป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
( นิพพานสูตร(๑) ขุ. อุ. /๒๕/๑๕๘/๑๗๔)
 

dhammajak เขียน:

มั่วแล้วจ่ะไหลตามพลศักดิ์ไปแล้วจ่ะ 
นิพพานธาตุ ไม่ ...


dhammajak โพสต์

พลศักดิ์ตอบ

คุณ
shartครับ 

อย่าไปฟังสิ่งที่จอมมาร
dhammajakพูดเลย หน้าที่ของเขาคือ ทำให้ผู้เริ่มเข้าถึงความจริงทางศาสนาสับสน


พระพุทธเจ้าตรัสถูกต้องแล้ว นิพพานเป็นอายตนะอย่างหนึ่ง อายตนะนิพพานนั้นมีอยู่ แต่ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาจากธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตน ฯลฯ เพราะธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ฯลฯ นั้นหนีไม่พ้นกฎแห่งอนิจจัง(ความไม่เที่ยง) และทุกขัง จึงเรียกว่า อนัตตา

นิพพานธาตุ เป็นอสังขตธาตุ หนีพ้นจากกฎแห่งอนิจจัง(ความไม่เที่ยง) และทุกขัง จึงเรียกว่า "อัตตา" ใช่...ผมกำลังบอกว่า นิพพานธาตุเป็นอัตตา เป็นอมตะธาตุ อายตนะนิพพานจึงไม่ใช่ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ฯลฯ ที่หนีไม่พ้นกฎแห่งอนิจจัง(ความไม่เที่ยง) และทุกขัง

หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ แยกไว้ชัดเจนที่สุดว่า กาย(รูป)มี 18 กาย(จิต) กายจิตเกือบทั้งหมด เช่น กายเปรต กายมนุษย์ กายยักษ์ กายเทวดา กายพรหม ล้วนอยู่ภายใต้กฎแห่งอนิจจัง(ความไม่เที่ยง) และทุกขัง จึงเรียกว่า "กาย(จิต)อนัตตา" = กาย(จิต)จอมปลอม หรือกายจิตมายา

มีแต่กาย(จิต)พระอรหันต์ เท่านั้น ที่เป็นกาย(จิต)ที่มีตัวตน = กาย(จิต)อัตตา

ส่วนเรื่องที่จอมมาร
dhammajakสงสัยอื่นๆ ผมตอบได้ทั้งหมด แต่ผมไม่มีเวลาจะไปตอบมัน เพราะผมได้ตอบจอมมารตัวนี้ไปมากแล้ว จึงรู้ว่า กรรมที่มันก่อในเว็บศาสนา ปิดบังตาและจิตของมันอยู่ บัวที่จมในโคลนตมดอกนี้ สอนมันตอนนี้ยังไม่ได้ ต้องให้มันปฏิบัติธรรมมากกว่านี้ก่อน

0 comments:

แสดงความคิดเห็น