A A

6 พฤษภาคม 2558

อธิบายเรื่องนิพพาน=ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด ...

(๓๕๐)  "ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ"

คำตรัสสอนของพระพุทธเจ้าท่อนนี้  พวกที่ไม่ปฏิบัติหรือปฏิบัติไม่ถึงขั้น  จะตีความไม่ได้  เพราะปัญญาในพุทธศาสนาไม่ได้อยู่ที่การใช้สมองคิด  แต่ปัญญาอยู่ทีปฏิบัติให้จิตละกิเลสได้มากเท่าไร  ก็จะได้ปัญญามากขึ้นเท่านั้น
โลกมันมีโลก 2 ฝั่ง

1.  ฝั่งนี้ เป็นฝั่งของจิตไม่บริสุทธิ์ ที่เรียกว่า สังสารวัฏ  หรือฝั่งใช้สมองงี่เง่าคิด
2.  ฝั่งโน้น เป็นฝั่งของจิตมหาบริสุทธิ์ ที่เรียกว่า โลกนิพพานหรือเมืองนิพพาน

ฝั่งนี้(ฝั่งของจิตไม่บริสุทธิ์) หรือฝั่งสังสารวัฏ  ฝั่งนี้ใช้ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ และอำนาจของฌานในการสร้าง นามรูป ขึ้น  นามรูป ก็คือพลังของจิต(สังขาร)ที่คิดปรุงแต่งนั่นเอง  ตราบใดที่จิต(สังขาร)ยังมีความคิดปรุงแต่ง มีความยึดมั่นอยู่  ฝั่งนี้(ฝั่งของจิตไม่บริสุทธิ์) หรือสังสารวัฏ ก็จะยังคงอยู่ไปเรื่อยๆ

นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ"  หมายถึงการดับไปของนามรูป และวิญญาณในฝั่งนี้ เพราะจิต(สังขาร)เลิกคิดปรุงแต่ง

พอจิตสังขาร ซึ่งเป็นอนัตตาสลายไป จะมีอีกจิตหนึ่งปรากฏออกมาแทนที่  จิตที่ปรากฏออกมานั้นเป็นจิตที่มหาบริสุทธิ์  จิตที่มหาบริสุทธิ์ก็มี กาย และทีที่อยู่ของกายเหมือนกัน  แต่กายและที่อยู่นั้นไม่ได้ถูกสร้างด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ  แต่สร้างด้วยธรรมและธาตุบริสุทธิ์  ธรรมและธาตุบริสุทธิ์จะแสดงสมมุติออกมาเป็น เมืองแก้ว  กายแก้ว อะไรพวกนี้  เพราะเมืองนิพพาน กายนิพพานเป็นวิมุตติ  แสดงให้เห็นไม่ได้ ต้องแสดงอออกเป็นสมมุติเท่านั้น ไม่งั้นรู้เห็นกันไม่ได้

ธรรมกาย และพระวิญญาณบริสุทธิ์ (สัมโภคกาย) ที่เป็นเหล่ากายนิพพาน  หรือเหล่ากายของพระเจ้า  เป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถรู้เห็นได้  ต้องเชื่อในพระศาสดาของตนเองเท่านั้น เช่น ในศาสนาพุทธเถรวาทก็เชื่อในพระไตรปิฎกว่า  อายตนะนิพพาน (ธรรมกาย และพระวิญญาณบริสุทธิ์ (สัมโภคกาย)) นั้นมีอยู่

หรือไม่ก็ต้องปฏิบัติให้ถึงขั้นเท่านั้น  จึงจะรู้เห็นได้จริง  ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรม  ผู้นั้นเห็นเรา(ตถาคต)   ผู้ใดเห็นเรา(ตถาคต) ผู้นั้นเห็นธรรม" ธรรมนี้คือธรรมกายนั่นเอง

0 comments:

แสดงความคิดเห็น