A A

8 มีนาคม 2558

อธิบายเรื่องนิพพานพรหม นิพพานโลก กับนิพพานโลกุตตระที่พระพุทธเจ้าสอน

dhammajakเขียนว่า :  สมถะฌาน และสมาธิ สงบแค่ไหนครับ แต่ไม่พบนิพพาน

ตอบ

ผิดแล้วครับ   สมถะฌาน และสมาธิ สูงสุดนำไปสู่นิพพานเหมือนกัน  พระพุทธเจ้าเรียกว่า นิพพานพรหม  ส่วนนิพพานของพระพุทธเจ้าเป็นโลกุตตรนิพพาน

คิริมานนทสูตร (สูตรต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ) หน้า: 6/16 เมืองพระนิพพาน     

ตทนนฺตรํ ในลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส เทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ นิพฺพานํ นครํ นาม อันชื่อว่าเมืองพระนิพพาน........... อันว่าที่สุดแห่งจักรวาลโลกเบื้องบนนั้น มีอรูปพรหมเป็นเขต เฉพาะอรูปพรหม ๔ ชั้นนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็น นิพพานพรหมหรือนิพพานโลก นิพพานโลกนี้เป็นที่ไม่สิ้นสุด ส่วนว่านิพพานของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีนามว่า โลกุตตรนิพพาน เป็นนิพพานที่สุดที่แล้ว


ความแตกต่างระหว่างนิพพานพรหมกับโลกุตตรนิพพาน  อยู่ที่ไหน

ในคิริมานนทสูตร (สูตรต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บ) หน้า: 6/16 เมืองพระนิพพาน     

พระพุทธเจ้าตรัสว่า :  ถ้าผู้ใดยังไม่ถึงที่สุดโลก ยังออกจากโลกไม่ได้ตราบใด ก็ชื่อว่ายังไม่ถึงพระนิพพาน จะต้องทนทุกข์น้อยใหญ่ทั้งหลาย เกิดๆ ตายๆ  กลับไปกลับมา  หาที่สุดมิได้อยู่ตราบนั้น

อันที่แท้ 
จิตใจ นั้นเป็น ลม อันเกิดอยู่สำหรับโลก  ไม่ใช่จิตใจของเรา  โลกเขาตั้งแต่งไว้ก่อนเรา  เราจึงเข้ามาอาศัยอยู่กับด้วยลมจิตใจ ณ กาลเป็นภายหลัง  ถ้าหากว่าเป็นจิตใจของเรา เราพาเอามาเกิด ครั้นเกิดขึ้นแล้วจิตใจนั้นก็หมดไป ใครจะเกิดขึ้นมาได้อีก...(1)

นี่ไม่ใช่จิตใจของใครสักคน   เป็นของมีอยู่สำหรับโลก  ผู้ใดจะเกิดก็ถือเอาลมนั้นเกิดขึ้น  ครั้นได้แล้วก็เป็นจิตของตน ที่จริงเป็นของสำหรับโลกทั้งสิ้น  ที่ว่า จิตใจของตนนั้น ก็เพียงให้รู้ซึ่งการบุญการกุศล การบาป การอกุศล และเพียงให้รู้ทุกข์สุข สวรรค์ และพระนิพพาน ถือเอาไว้ให้ถึงที่สุดเพียงพระนิพพานเท่านั้น   
ถ้าถึงพระนิพพานแล้ว ต้องวางจิตใจคืนไว้แก่โลกตามเดิมเสียก่อน ถ้าวางไม่ได้เป็นโทษ ไม่อาจถึงพระนิพพานได้ ...(2)

ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนา ต่อไปอีกว่า  อานนฺท ดูกรอานนท์  บุคคลทั้งหลายที่หลง ขึ้นไปบังเกิดในอรูปพรหมอันปราศจากความรู้นั้น  ก็ล้วนแต่บุคคลผู้ปรารถนาพระนิพพาน  แต่ไม่รู้จักวางใจให้สิ้น ให้หมดทุกข์นั้นเอง  ไม่รู้จักวางจิตวิญญาณอันตนเข้ามาอาศัย อยู่กับด้วยลมของโลก  ทำความเข้าใจว่าเป็นจิตของตัว และ เข้าใจว่า พระนิพพานมีอยู่ในเบื้องบนนั้น ตัวก็นึกเข้าใจ  เอาจิตของตัวขึ้นไปเป็นสุขอยู่ในที่นั้น ครั้นตายแล้วก็เลยพาเอาตัวขึ้นไปอยู่ในที่อันไม่มีรูป  ตามที่จิตตนนึกไว้นั้น 

อธิบายสิ่งที่  พระพุทธเจ้าตรัสในคิริมานนทสูตร

1. 
จิตใจ นั้นเป็น ลม อันเกิดอยู่สำหรับโลก  ไม่ใช่จิตใจของเรา  โลกเขาตั้งแต่งไว้ก่อนเรา  เราจึงเข้ามาอาศัยอยู่กับด้วยลมจิตใจ ณ กาลเป็นภายหลัง หมายความว่า:

......จิตใจของมนุษย์ และสรรพจิตใน 31 ภพภูมิ เป็นของโลก  และเป็นตัว
ลม  ส่วนจิตใจที่แท้จริงของเรา ไม่ใช่ตัวลม  จิตใจแท้ของเรา เพียงแต่เข้ามาอาศัยอยู่กับจิตใจ(ลม)ของโลกเท่านั้นเอง

2. พูดให้ชัดเจนไปเลย  จิตใจ ที่เป็นลม  เป็นจิตใจของมนุษย์และสรรพจิตใน 31 ภพภูมิ  ส่วนจิตใจที่แท้จริงของเราที่เรียกว่านิพพาน(โลกุตระ)  เดิมมันมีอยู่แล้ว  เพียงแต่จิตเดิมแท้ - นิพพาน(โลกุตระ) - ของเราเข้าไปอยู่รวมกับจิตใจของโลก  เราจึงหามันไม่เจอ  มองไม่เห็นมัน  เราต้องวางจิตใจที่เป็นลมคืนไว้แก่โลกก่อน  จึงจะพบและเห็นจิตใจเดิม - นิพพาน(โลกุตระ)ของตนเอง


เราจะวางจิตใจของโลกได้โดยต้องสิ้นราคะ โทสะ โมหะ  ไม่มีกิเลสตัณหาเหลืออยู่ ที่สำคัญต้องไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่าจิตใจของโลกเป็นของเรา   

วิธีง่ายที่สุดคือ ทำสติปัฏฐาน 4(เจริญวิปัสสนา)  จะได้ไม่หลงไปคิดปรุงแต่ง  ไปยึดมั่นเอาสิ่งภายนอกจิตเดิมแท้(โลกุตตรจิต)ทั้งหมดว่าเป็นตัวกู ของกู

อรูปพรหม ซึ่งเป็นนิพพานพรหม เป็นนิพพานโลก ยังเป็นนิพพานโลกียะอยู่  เนื่องจากเราไม่ได้วางจิตใจที่เป็นลมคืนให้กับโลก  สิ่งที่เขาไม่เอาไป คือ รูปเท่านั้น จึงเรียกว่า อรูปพรหม  ส่วนตัวจิตใจที่เป็นลม เขาดันพกติดตัวเอาไปด้วย  ทำนอง...พกเมียมาด้วยหรือนี่  เพราะเขาไม่รู้วิธีกำจัดเมีย(จิตใจของโลก)ออกไป - ทำวิปัสสนา(สติปัฏฐาน)นั่นเอง
......................



dhammajak โต้ว่า : 555 อรูปพรหม เป็นความสงบ ที่พระพุทธเจ้า เรียกอีกนัยหนึ่งว่า ฉิบหายจากความดี ครับ

ตอบ  "ฉิบหาย" ของพระพุทธเจ้า คือ อรูปพรหมมีอายุช้านานมากๆๆๆๆๆๆๆ เรียกว่า "กัลปาวสาน"   พระพุทธเจ้าตรัสว่า  "อายุของ อรูปพรหมนั้นยืนนัก จะนับว่าเท่านั้นเท่านี้มิอาจนับได้" แต่อรูปพรหมก็เป็นนิพพานเหมือนกัน  เรียกว่า "นิพพานพรหม"  เพราะพระพุทธเจ้าตรัสด้วยว่า
ความสุขความสำราญในพระนิพพานทั้ง ๒ นั้น ก็ประเสริฐ เลิศโลกเสมอกันไม่ต่างกัน 

แต่เพราะอรูปพรหม(นิพพานพรหม)ไม่ดับวิญญาณ(อาทิสมานกาย)  หรือ  ไม่ดับจิตใจโลกออกไปจากจิตเดิมแท้ของตน จิตเดิมแท้
(นิพพานโลกุตตระ)เปรียบเหมือนผัว จิตใจโลก(นิพพานพรหม)เปรียบเหมือนเมีย  นิพพานพรหมเหมือนกับนิพพานโลกุตตระ ที่ดันพกเมียมาด้วยหรือนี่  เมื่อสิ้นอำนาจของฌานแล้ว(เมื่อสิ้นกัลปาวสานแล้ว)  เมีย ซึ่งเป็นจิตใจโลก  ก็นำผัว ซึ่งเป็นจิตเดิมแท้เป็นนิพพานจิต(โลกุตตรจิต)  ต้องกลับมาเกิด แก่ เจ็บ ตายอีก  

ส่วนโลกุตตรนิพพาน ปราศจากวิญญาณ(อาทิสมานกาย) หรือไม่พกเมียไปด้วยแล้ว  จึงไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตายอีก มีแต่ความสุขสบายจิตใจสถานเดียว 

อ่าน
คิริมานนทสูตรท่อนนี้นะครับ

ดูกรอานนท์  ผู้ที่หลงขึ้นไปอยู่ในอรูปพรหมแล้ว จะได้ถึงโลกุตตรนิพพานนั้นช้านานยิ่งนัก  เพราะว่าอายุของอรูปพรหมนั้นยืนนัก จะนับว่าเท่านั้นเท่านี้มิอาจนับได้ จึงชื่อว่านิพพานโลกีย์ ต่างกันแต่มิได้ดับวิญญาณเท่านั้น ถ้าหากดับวิญญาณก็เป็นพระนิพพานโลกุตตระได้ 

ส่วน 
ความสุขความสำราญในพระนิพพานทั้ง ๒ นั้น ก็ประเสริฐ เลิศโลกเสมอกันไม่ต่างกัน แต่นิพพานโลกีย์เป็นนิพพานที่ไม่สิ้นสุดเท่านั้น(ต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไป)  เมื่อสิ้นอำนาจของฌานแล้ว ยังต้องมี เกิด แก่ เจ็บ ตาย ร้ายและดี คุณและโทษ สุขและทุกข์ยังมีอยู่เต็มที่ 

เพราะเหตุนั้น ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งจะปรารถนานิพพานพรหม ไม่มีเลย  ย่อมมุ่งต่อโลกุตตรนิพพานด้วยกันทั้งนั้น แต่ไม่รู้จักปล่อยวางวิญญาณ  จึงหลงไปเกิดเป็นอรูปพรหม ส่วนโลกุตตรนิพพานนั้นปราศจากวิญญาณ วิญญาณยังมี ที่ใด ความเกิด แก่ เจ็บ ตายก็มีอยู่ในที่นั้น โลกุตตรนิพพาน ปราศจากวิญญาณ จึงไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย มีแต่ความสุขสบาย ปราศจากอามิส หาความสุขอันใด จะมาเปรียบด้วยนิพพานไม่มี พระพุทธเจ้าตรัสแก่ข้าฯ อานนท์ ดังนี้แล

สรุป

นิพพานพรหม = นิพพานโลก = นิพพานโลกีย์   มีความสุขประเสริฐเสมอด้วยนิพพานโลกุตตระ  เพียงแต่นิพพานพรหมมีอายุแคกัลปาวสาน  ไม่ใช่นิรันดรเหมือนนิพพานโลกุตตระ

นิพพานพรหม(นิพพานโลก) เป็นอรูปพรหม  ปล่อยวางรูปแล้ว  จึงไม่มีรูปอยู่  ที่เรียกว่านิพพานโลกีย์  เพราะยังมี "โลกียจิต" ที่เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในจิต(อาทิสมานกาย)ซึ่งเป็นลมอยู่  ไม่ได้ปล่อยวางจิตใจ(ลม)ทิ้งไป  พอหมดอำนาจของฌาน "โลกียจิต" ซึ่งเป็นจิต(อาทิสมานกาย) ก็นำให้ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดใหม่อีก  

นิพพานโลกุตตระ  ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในจิต (ลม)แล้ว  ปล่อยวางจิตใจ(ลม)  จิต(อาทิสมานกาย)ไม่มีอยู่แล้ว  จึงเวียนว่ายตายเกิดอีกไม่ได้  จึงกลับเข้าสู่สภาวะเดิมของตน ซึ่งเป็นจิตอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นโลกุตตรจิต อันว่างเปล่าจากกิเลสตัณหาตลอดกาล

0 comments:

แสดงความคิดเห็น