A A

8 มีนาคม 2558

วิเคราะห์เรื่องกฎแห่งกรรมในละคร 'แรงเงา' อย่างลึกๆ...สุดหยั่งคาด

ละครเรื่อง "แรงเงา" เป็นละครที่ฮิตมากๆในขณะนี้  ฉาย ช่อง 3 วัน จันทร์-อังคาร เวลา 20:30 น. ถึง 22:30 น.  ละครเรื่องนี้ ถูกนำมาสร้างเป็นละครมาแล้วถึง 3 ครั้ง 

"แรงเงา" ไม่ได้เป็นแต่เพียงแค่ละครแย่งผัว แย่งเมีย หรือสงครามเมียน้อยกับเมียหลวงเท่านั้น  แต่เรื่องแรงเงาชี้ให้เห็นถึงสังคมไทยที่นับวันจะเป็นสังคมหน้าไหว้หลังหลอก ฉกฉวยโอกาส ยิ่งสังคมมีความเจริญทางวัตถุมากเท่าไร การพัฒนาทางด้านจิตใจกลับยิ่งถดถอยลง

ในเรื่อง
"มุตตา" เป็นเหยื่ออันโอชะของสังคมแบบนี้  มุตตาในฐานะเมียน้อยถูกสังคมตัดสินและลงโทษโดยไม่ถามหาเหตุผล ไม่สนใจว่าเรื่องราวเป็นมาอย่างไร  จนในที่สุด เมื่อมุตตาตาย  มุนินทร์พี่สาวฝาแฝดเลยกลับมาแก้แค้นแทนน้องสาว

"สิ่งซึ่งละครเรื่องแรงเงา  ต้องการสื่อที่สุดคือ เรื่องของกฎแห่งกรรม และ เรื่องของเวรระงับได้โดยการไม่ผูกเวร หรืออโหสิกรรม ที่บอกไว้ชัดเจน"

เปลือกนอกของละครเรื่อง "แรงเงา" มีการตบตี แก้แค้นกัน แต่เนื้อแท้เป็นละครศาสนา และเรื่องจิตวิทยา  สะท้อนสังคมถึงเงามืดที่อยู่ในใจและในโลกรอบตัว มีแก่นแท้ คือเรื่องของกรรม


เรื่องของกฎแห่งกรรมในละครเรื่องแรงเงาที่ผมจะนำมาวิเคราะห์วันนี้มี 4 ช่วง

1.  มุนินทร์พูดให้ลูกศร ซึ่งรับฟังด้วยสีหน้าหนักใจ ต่อว่าเพื่อนให้เลิกจองเวรกับครอบครัวนี้เสียที

เธอทำเกินกว่าเหตุแล้วนั้น จะอาฆาตพยาบาทอะไรกันนักหนา...พอได้แล้วนะ

พอเห็นเลือดคุณนพนภา เห็นสภาพน่าสังเวชของเธอ ฉันก็นึกได้ว่ากำลังฆ่าคนอีกแล้ว...ฉันทำไปได้ยังไง

สำนึกแล้วใช่ไหม

" กฎแห่งกรรมเป็นเหมือนเงา ที่ติดตามตัวมนุษย์ทุกผู้ทุกคน"

มุนินทร์บอกยืนยันด้วยว่า  ฉันจะไม่จองเวรล้างผลาญใครอีกแล้ว 

2. นพนภาต่อว่าเจนภพว่า :

ใช่...เจอเล่ห์ไอ้แก่หัวงูก็เลยเสร็จ เคยนึกบ้างไหม ...คนที่เป็นไอ้หัวงู หลอกทำลายพรหมจรรย์ผู้หญิงน่ะ วันหนึ่งกรรมจะวกมาถึงตัว...แล้วตอนนี้ก็วกมาโดนยายต้องแล้ว!

3. ป้าสร้อยคำมาเฝ้าต้องที่โรงพยาบาลวันรุ่งขึ้น วีกิจแวะมาเยี่ยม มองลูกพี่ลูกน้องอย่างสงสาร ต้องรู้สึกตัวแล้ว แต่แกล้งนอนหลับเงียบ เงี่ยหูฟังสองแม่ลูกคุยกัน

ป้าสร้อยคำถกกับลูกชาย(วีกิจ)ว่า:

 a. “มันเป็นเรื่องของกรรมน่ะตากิจ...มันเหมือนเงา ตามตัวเราไปทุกที่

 b. “แล้วทำไมกรรมของพ่อถึงตกกับลูกล่ะครับ

 
c. “ไม่ใช่หรอกลูก พุทธศาสนาพูดถึงการเวียนว่ายตายเกิด แม่คงต้องบอกว่ายายต้องเคยทำกรรมแบบนี้ไว้...กรรมถึงได้พามาเกิดในบ้านที่มีคนทำกรรมแบบเดียวกัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจึงเป็นการลงโทษทั้งตัวยายต้องและนายภพด้วย

 d. “เกิดเป็นผู้หญิงต้องตกเป็นเหยื่อเสมอนะฮะ

 e.“ไม่ว่าชายหรือหญิงก็อยู่ใต้กรรมเหมือนกัน ถ้าเรา พิจารณาชีวิตให้ดีจะเห็นกฎแห่งกรรม...แล้วแก้ไขชีวิตได้

4. ต้อง..พูดกับคนในครอบครอบครัวว่า :   หนูไม่โทษใครหรอกค่ะ แต่หนูเชื่ออย่างที่ป้าสร้อยว่า ทุกอย่างเกิดจากกรรมของเราเอง

วิเคราะห์เรื่องกฎแห่งกรรมในละคร "แรงเงา"  แบบธรรมดา

1. พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า  "กัมมุนา วัตตติ โลโก"  สัตว์โลกทั้งหลายต้องเป็นไปตามกรรม  

ก็บุคคลทำกรรมใด ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ กรรมนั้นแหละ เป็นของๆ เขา และเขาย่อมพาเอากรรมนั้นไป อนึ่งกรรมนั้น ย่อมติดตามเขาไป เหมือนเงาติดตามตัว

"เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น" 

....ที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน  กรรมชั่วที่เจนภพผู้เป็นพ่อ และนพนภา ผู้เป็นภรรยาของเจนภพ ได้ก่อไว้กับ" มุตตา" ที่เป็นเหยื่ออันโอชะของพวกเขา  กรรมเหล่านั้น ไม่ได้สูญหายไปแต่อย่างใด  แต่มันได้ส่งวิบากกรรมหรือผลกรรมให้กับชะตาชีวิตของเจนภพและนพนภา เหมือนเงาติดตามตัว รวมทั้งยังดูเหมือนว่า  กรรมนั้นส่งผลถึงลูกๆทั้งชายและหญิงของพวกเขาด้วย

ความจริง  ลูกๆของเจนภพและนพนภา  ก็มีวิบากกรรมทั้งดีและชั่ว ที่ก่อไว้ในอดีตชาติ ติดตามตัวพวกเขามาเหมือนเงาติดตามตัวเช่นกัน 
- วิบากกรรมดีในอดีตชาติ  ทำไห้เด็กพวกนั้นเกิดมาเป็นลูกครอบครัวรวยๆของเจนภพและนพนภา  
- วิบากกรรมเลวในอดีตชาติ  ทำให้พวกเขาต้องมีชะตาชีวิตแบบที่พวกเขาเป็นอยู่    

เรื่องของกรรมและวิบากกรรมจึงเป็นเรื่องอจินไตย  ในขั้นนี้ผมพูดได้แต่เพียงว่า  กรรมนี้มีพลังดึงดูดให้ตัวของพวกเรา  และลูกๆหลานๆ ซึ่งเป็นเผ่าพันธุ์ของพวกเรา มีชะตากรรมหรือวิบากกรรมแบบใดแบบหนึ่งตามกรรมดีกรรมเลวที่เราก่อไว้ด้วย 

- กรรมที่เราก่อไว้นี้ มีทั้งกรรมเก่าในอดีตชาติส่งผล  และกรรมใหม่ในชาติปัจจุบันส่งผล


"เจตนาหํ  ภิกฺขเว  กมฺมํ  เจตยิตฺวา  กมฺมํ  กาเยน  วาจาย  มนสา"

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนาคือตัวกรรม สัตว์ทั้งหลายที่ทำกรรม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจก็ดี ย่อมมีการปรุงแต่ง คือคิดนึกก่อนแล้วจึงทำ

ดังจะเห็นได้ว่าการกระทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ จะเป็นกุศล หรืออกุศลก็ตาม ต้องอาศัยเจตนาเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าในการกระทำนั้นๆ  เจตนาจึงเป็นตัวกรรม  แล้วหัวหน้าของเจตนาคือใจ  ไม่ใช่กายและวาจาแต่อย่างใด 

"ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ"

ทุกอย่าง สำเร็จด้วยใจ  บาปจึง = เจตนาอกุศลของใจ  บุญจึง = เจตนากุศลของใจ  

บุญและบาป เป็นกรรมอย่างหนึ่ง และเป็นปัจจัยให้เกิดผลบุญและผลบาปตามมา  บุญและบาปจึง ทำหน้าที่ 
- เพาะพืชพันธุ์ให้เกิดผลบุญและผลบาปต่อตัวเราในอนาคต  
- และทำกิจเพาะเผ่าพันธุ์ลูกหลานของเรา ให้งอกงามดีหรือชั่วตามแบบเราต่อไปในอนาคตด้วย

ด้วยเหตุนี้  พระพุทธองค์จึงตรัสว่า  นอกจากเราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น  เรายังมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ด้วย

ผมได้กล่าวเรื่องbasicของกฎแห่งกรรมไปแล้ว  ตอนนี้ขอชี้แนะเป็นช่วงๆในตอนที่ผมยกมานะครับ

1. พอเห็นเลือดคุณนพนภา เห็นสภาพน่าสังเวชของเธอ ฉันก็นึกได้ว่ากำลังฆ่าคนอีกแล้ว...ฉันทำไปได้ยังไง

มุนินทร์บอกยืนยันด้วยว่า  
ฉันจะไม่จองเวรล้างผลาญใครอีกแล้ว 

ชี้แนะ:   เราทุกคนล้วนมีพุทธะอยู่ในใจ  ความเป็นพุทธะของเราบางครั้งก็ต้องมีสิ่งที่สะกิดใจมาให้เราเห็น  เราจึงจะเข้าใจได้ดี  ในกรณีของมุนินทร์ คือ มุนินทร์ต้องเห็นเลือดของคนที่เป็นศัตรูคู่อาฆาตของตน  มุนินทร์จึงจะเข้าใจว่า เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร  ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า  
"ในกาลไหนๆ เวรย่อมไม่ระงับด้วยการจองเวร แต่เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร"

แม้ว่ามุนินทร์จะไม่จองเวรแล้ว  แต่มุนินทร์ก็ยังต้องรับผลจากกรรมจากการที่ตนเองไปจองเวรจองกรรมในอดีตด้วย  แต่ผลกรรมนั้นจะเบาบางลงมากเพราะมุนินทร์สำนึกผิดนั่นเอง

3.  ที่ป้าสร้อยคำกับวีกิจถกกันนั้น

a. “มันเป็นเรื่องของกรรมน่ะตากิจ...มันเหมือนเงา ตามตัวเราไปทุกที่

 b. “แล้วทำไมกรรมของพ่อถึงตกกับลูกล่ะครับ

 c. 
ไม่ใช่หรอกลูก พุทธศาสนาพูดถึงการเวียนว่ายตายเกิด แม่คงต้องบอกว่ายายต้องเคยทำกรรมแบบนี้ไว้...กรรมถึงได้พามาเกิดในบ้านที่มีคนทำกรรมแบบเดียวกัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจึงเป็นการลงโทษทั้งตัวยายต้องและนายภพด้วย

ชี้แนะ: ผมได้ชี้แนะไปแล้วว่า  บุญและบาป เป็นกรรมอย่างหนึ่ง และเป็นปัจจัยให้เกิดผลบุญและผลบาปตามมา   บุญและบาปทำหน้าที่สำคัญ 2 ประการ 
- ชักนำผลบุญและผลบาปมาสู่ตัวเราเองในอนาคต  
- เพาะเผ่าพันธุ์ นำพาลูกหลานที่ต้องรับวิบากกรรมแบบเดียวกันมาเป็นลูกหลานของตนด้วย

เจาะลึก  ลูกๆของเราดำเนินชีวิตดีราบรื่น หรือชั่วและไม่ราบรื่น ตามแบบของเรา ที่เขารู้เห็นและตีความในจิตใต้สำนึกของเขา  จิตใต้สำนึกของลูกชายและลูกสาวของเจนภพและนพนภา ไปตีความว่า การที่ตนไม่ได้รับการใส่ใจจากพ่อแม่  บีบให้ต้องไปหาการใส่ใจจากคนใกล้ตัว  จนในที่สุดก็เลยทำให้ลูกชายกลายเป็นตุ๊ด และลูกสาวกลายเป็นเด็กสาวใจแตก  นั่นเป็นการตีความของพวกเขา ที่รู้เห็นเฉพาะชาติปัจจุบันเท่านั้น

แต่จริงๆแล้ว  ที่ลูกชายของเจนภพและนพนภากลายเป็นตุ๊ด  และลูกสาวกลายเป็นเด็กสาวใจแตก  ก็เพราะกรรมของเด็กเหล่านั้นก่อในอดีตชาติ ส่งผลมาให้พวกเขาในชาตินี้  กรรมในอดีตชาติของลูกๆ นำพาพวกเขามาเกิดในบ้านของเจนภพและนพนภา   

ต้องย้ำว่า!  มนุษย์ไม่สามารถรับรู้ว่า ในอดีตชาติของตนเคยทำอะไรมาบ้าง จึงคิดว่าชะตากรรมของพวกตนในชาตินี้ เป็นผลมาจากพ่อแม่ของตนที่ไม่อบรมเลี้ยงดู และไม่ใส่ใจให้ความรักและความอบอุ่นจากพ่อแม่  ความจริงแล้วถ้าลูกๆของเจนภพและนพนภาทำกรรมดีเรื่องครอบครัวมาในอดีตชาติ   พวกเขาจะไปเกิดในครอบครัวที่มีแต่ความอบอุ่น ทั้งการอบรมเลี้ยงดู และใส่ใจให้ความรักจากพ่อแม่  

อย่าลืมว่า ในศาสนาพุทธ 
"ไม่มีคำว่าบังเอิญ"  เพราะเบื้องหลังของ "ความบังเอิญ" ก็คือ "วิบากกรรม" 

ทั้งหมดเป็นเรื่องของกรรมบันดาล  และกรรมจัดระเบียบให้พวกเขามีพ่อมีแม่ที่เห็นแก่ตัวมากกว่าเห็นแก่ลูก  ที่เรียกว่า "พรหมลิขิต"   

ส่วนข้อ
2. นพนภาต่อว่าเจนภพว่า :ใช่...เจอเล่ห์ไอ้แก่หัวงูก็เลยเสร็จ เคยนึกบ้างไหม ...คนที่เป็นไอ้หัวงู หลอกทำลายพรหมจรรย์ผู้หญิงน่ะ วันหนึ่งกรรมจะวกมาถึงตัว...แล้วตอนนี้ก็วกมาโดนยายต้องแล้ว!

ชี้แนะ:  นี่เป็นเรื่องของกรรมที่นพนภาคิดว่า  กรรมในชาติปัจจุบันที่เจนภพก่อขึ้น ส่งผลต่อยายต้องลูกสาว  แต่เรายังไม่ควรตัดสินใจว่า  กรรมในชาติปัจจุบันส่งผลต่อยายต้องลูกสาว หรือกรรมในอดีตชาติของยายต้องลิขิตชีวิตของยายต้องเอง  เนื่องจากกรรมมันเป็น

- ทั้งตัวดึงวิบากของกรรมมาถึงตัวเอง  และ
- กรรมก็เป็นนำพาเผ่าพันธุ์ที่ต้องรับชะตากรรมแบบนั้นมาเป็นลูกหลานของตนด้วย

พูดง่ายๆ  กรรรมดีและชั่วในอดีตชาติของยายต้องลูกสาว  เป็นเหตุให้ยายต้องเกิดเป็นลูกเจนภพ  แล้วต้องเจอวิบากกรรมในชาติปัจจุบันที่เจนภพผู้เป็นพ่อก่อขึ้น  แต่นพนภาไม่รู้ในเรื่องอดีตชาติ  เห็นแต่ชาติปัจจุบัน จึงเข้าใจและไปตีความว่า  
"เจนภพผู้เป็นไอ้หัวงู หลอกทำลายพรหมจรรย์ผู้หญิงน่ะ วันหนึ่งกรรมจะวกมาถึงตัว...แล้วตอนนี้ก็วกมาโดนยายต้องแล้ว!

ควรจำด้วยว่า:  พระพุทธองค์สอนว่า  นอกจากเราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นแล้ว  เรายังมีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ด้วย

4.
 ต้อง..พูดกับคนในครอบครอบครัวว่า :   หนูไม่โทษใครหรอกค่ะ แต่หนูเชื่ออย่างที่ป้าสร้อยว่า ทุกอย่างเกิดจากกรรมของเราเอง

ชี้แนะ: เรื่องกฎแห่งกรรมเป็นเรื่องอจินไตย  ขอให้รู้แต่เพียงว่า "พรหมลิขิต" เป็นเรื่องของอดีตชาติที่เขียนแผนที่ชีวิตไว้ให้เราเดิน  และกฎแห่งหรรมเป็นเรื่องของกรรมที่เราทำในชาติปัจจุบันลิขิตแผนที่ใหม่ในชาติปัจจุบันให้เรา  และยังลิขิตแผนที่ใหม่ในชาติอนาคตของเราด้วย



สาธุ อนุโมทนามิ
ดูละคร แล้วย้อนดูตัวเอง ...


มุ่งทางธรรม โพสต์

ตอบคุณมุ่งทางธรรม

ผมรู้ตัวเองอยู่แล้วว่า  ผมเป็นพุทธะ  จึงไม่จำเป็นต้องย้อนดูตัวเอง  คนที่ต้องย้อนดูตัวเอง คือ คนที่ยังไม่เข้าถึงความเป็นพุทธะ

เมื่อคุณมองดูตัวเอง คือ มองดูจิตของคุณ


- คุณเห็นจิตของตัวเอง มันว่างจากกิเลสตัณหา  คุณก็คือ พระอรหันต์ 
- แต่ถ้ายังเห็นว่าจิตยังมีความเมตตากรุณา จะช่วยครอบครัว และช่วยคนไทย และชาวโลกอยู่  คุณก็คือ พระโพธิสัตว์อรหันต์ หรือ อนาคามีชั้นพิเศษ   
- ถ้ากำลังจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตเช่นหลวงปู่ดู่ก็เรียกว่า หน่อพุทธภูมิ


จากหนังสือกายสิทธิ์ เล่ม 1

หน่อพุทธภูมิที่มีการสร้างบารมีถึง ๓๐ ทัศน์ มีอยู่อย่างหนึ่งคือ ปัญญาบารมีขั้นปรมัตถ์ จึงทำให้ท่านไม่ต้องไปอบายภูมิ  เพราะท่านล่วงรู้ถึงสัจจะธรรมต่างๆ ทำให้ไม่หลงตน ผู้เขียนเคยกราบเรียนถามหลวงปู่โดยอ้างพระไตรปิฎก  ซึ่งได้กล่าวถึง
บุญที่ถวายทานกับพระอริยะขั้นต่างๆ กำลังบุญไม่เสมอกัน  แต่ในพระไตรปิฎกไม่ได้กล่าวถึงหน่อพุทธภูมิ หลวงปู่(ดู่)ท่านได้ตอบผู้เขียนว่า 

"หน่อพุทธภูมิ ถ้าเปรียบไปแล้ว ก็คือ พระอนาคามี เพราะกำลังจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า แต่จัดเป็นพระอนาคามีชั้นพิเศษ คือเหมือนกันแต่ท่านยังไม่เอา หลวงปู่ท่านจึงยังไม่สอนใครถึงนิพพาน เพราะถึงไม่ใช่กิจของท่าน แต่ท่านรู้ทั้งนั้น บารมีทั้ง ๑๖ อสงไขย ไม่รู้ได้อย่างไร หลวงปู่ทวด จิตท่านยังมีจุดดำอยู่ แกว่าจริงไหม" 

ผู้เขียนตอบว่า "ถ้าไม่มีท่านก็สำเร็จแล้วซิครับ  แต่
จุดดำนั้นเป็นจุดของความเมตตา  ที่ท่านจะโปรดสัตว์  เพื่อจะให้สมกับคำว่า ศรีอริยเมตไตรย ดังนั้น จุดดำนี้ผมถือว่า มีค่าน้อยมากตัดทิ้งไปได้เลย" 

หลวงปู่(ดู่)ท่านพยักหน้ายิ้มรับ

0 comments:

แสดงความคิดเห็น