A A

22 มีนาคม 2558

พวกเราหลงกล 'มาร' มานานแล้ว เพราะไม่เข้าใจความหมายของ 'อัตตา'

1..   " อัตตาสลาย จึงคลายทุกข์ "

ผมขอแย้งคุณteamsleepหัวชนฝาเลยครับ  เพราะอัตตา(ความว่างในจิต)ของเรามันเสื่อมสลายไป เราจึงมีทุกข์  ถ้าอัตตา(ความว่าง)ของเรากลับมาเมื่อไร  เราจึงจะพ้นทุกข์  ไม่ใช่อัตตา(ความว่าง)สลายจึงคลายทุกข์ครับ

ความว่างในจิต(อัตตา)กลับมามันเป็นสุขประเสริฐ ไม่ใช่ความว่างจิตกลับมามันเป็นทุกข์

... ผมเข้าใจในความหวังดีที่คุณteamsleepต้องการจะสื่อ  แต่ก่อนที่คุณจะใช้คำว่า  "อัตตา"  คุณก็ควรจะรู้ก่อนว่า "อัตตา" ที่พระพุทธเจ้าพูดถึงคืออะไรกันแน่  เมื่อคุณไม่เข้าใจและไม่พยายามศึกษาความหมายของอัตตา  คุณก็เหมือนกับคนอื่นๆ ที่พยายามมั่วแหลกในความหมายที่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิงกับความหมายของอัตตาที่พระพุทธเจ้าหมายถึง


"อัตตา" ที่คุณพยายามมั่วตามพวกไม่รู้ท่านอื่น คือ "อุปาทาน" หรือ "ทิฎฐิ"  พระพุทธเจ้าเรียกว่า "อัตตานุทิฎฐิ" หรือ (อัตตวาทุปาทาน) 

ผู้ใดยังหลงในยศศักดิ์ ก็ชื่อว่าหลงตนและหลงโลก = หลงในอุปาทาน หรือเป็นผู้มีทิฎฐิ

หัวข้อของคุณควรเปลี่ยนใหม่เป็น "อุปาทานสลาย จึงคลายทุกข์ " หรือ อุปาทานสลาย จึงเข้าถึงอัตตา(ความว่าง) ความทุกข์จึงไม่มี

ช่วยกันฟื้นฟูพุทธศาสนาหน่อยครับ  พวกเราหลงกลมาร ช่วยกันย่ำยีพุทธศาสนามานานแล้ว


2... อัตตา ที่พระพุทธเจ้ากล่าวถึงในอนัตตลักขณสูตรนั้น เป็นสิ่งที่ไม่อยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ ลองอ่านดูนะครับ

ในอนัตตลักขณสูตร พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนปัญจวัคคีย์ว่า สิ่งที่จะเป็นอัตตาได้ต้องมีลักษณะดังนี้ :

...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูป(เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)นี้จักได้เป็นอัตตา (มีตัวตน หรือเป็นของตัวตน อย่างแท้จริง) แล้ว  รูปฯลฯ นี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ (ความเสื่อม ความเจ็บไข้ ความแปรปรวน) และบุคคลพึงได้(หมายถึง ย่อมบังคับบัญชาได้ตามปรารถนา) ในรูป ฯลฯ ว่า รูปฯลฯ ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูป ฯลฯ ของเราอย่าได้ เป็นอย่างนั้นเลย

กล่าวอีกนัยหนึ่ง

" สิ่งใดเที่ยง, ไม่มีทุกข์, ไม่ปรวนแปรเป็นธรรมดา สามารถบังคับบัญชาให้เป็นอย่างใจหวังได้ สิ่งนั้นก็ย่อมเป็น อัตตา "

ย้ำ! อัตตา = ความว่างในจิต  เมื่อเรามีจิตว่างเมื่อไร  นอกจากความทุกข์ของเราจะหมดไปแล้ว  จิตว่างของเราจะเปลี่ยนเป็นอะไรก็ย่อมได้ทั้งนั้น

สรุป

"อัตตา" เป็นความว่างในจิต  สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย "อัตตา" นั้นสามารถบังคับหรือเปลี่ยนแปลงไปได้ตามที่ใจเราปรารถนา

จุดม่งหมายของพระพุทธศาสนา คือ  ให้พวกเราออกจากทิฎฐิ ออกจากอุปาทาน  ซึ่งมีความทุกข์ มีการเกิดแก่เจ็บตาย  เข้าไปเป็นอัตตา ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย  และสามารถสั่งการ บังคับบัญชาให้อัตตาของเราเป็นอะไรก็ได้ตามที่ใจเราปรารถนา

อัตตา = พระเจ้า(พุทธะ, อรหันต์)
อนัตตา = ทิฎฐิ  อุปาทาน  หรืออัตตานุทิฎฐิ (อัตตวาทุปาทาน)

เชิญแย้งผมได้เลยครับ  จะแย้งโดยการด่าว่า ตำหนิติเตียน สาปแช่ง ใส่ร้ายป้ายสีเหมือนเดิมก็ได้นะมาร  เพราะมันเป็นวิธีการเก่าๆคร่ำครึของพวกมารที่ใช้ได้ผลเสมอ  ผมสบายอยู่แล้ว  ผมไม่เอาคำพูดไร้สาระเหล่านี้เข้าไปในจิตว่างของผมแล้ว   5555   จุ๊บ...จุ๊บ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

มารมันชุมน่ะครับ  ผมเป็นคนไม่กลัวมาร  และไม่ยอมมารให้ทำลายพุทธศาสนาอย่างง่ายๆ

ฉฉักกสูตร 

[๘๑๘] ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า จักษุเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร จักษุ
ย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้
ความเสื่อม สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะ
ฉะนั้น 
คำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึง
เป็นอนัตตา
             ผู้ใดกล่าวว่า รูปเป็นอัตตา คำของผู้นั้นไม่ควร รูปย่อมปรากฏแม้ความ
เกิด แม้ความเสื่อม ก็สิ่งใดแล ปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม สิ่งนั้น
ต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป เพราะฉะนั้น 
คำของผู้ที่
กล่าวว่า รูปเป็นอัตตานั้นจึงไม่ควร
 ด้วยประการฉะนี้ จักษุจึงเป็นอนัตตา รูปจึง
เป็นอนัตตา


= จักษุมนุษย์ไม่ได้เป็นอัตตา  รูป(กาย)มนุษย์ก็ไม่ได้เป็นอัตตา

อื่นๆต้องไปอ่านในฉฉักกสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=10324&Z=10554

0 comments:

แสดงความคิดเห็น