A A

29 มีนาคม 2558

นิพพานนี้ไม่มีเวทนา

ครั้งหนึ่ง พระสารีบุตร ได้แสดงธรรมไว้ว่า "เพราะนิพพานไม่มีเวทนา จึงเป็นความสุข"

พระอุทายีจึงได้กล่าวกะพระสารีบุตรว่า

"ดูกรอาวุโสสารีบุตร นิพพานนี้ไม่มีเวทนา จะเป็นสุขได้อย่างไร"

คำตอบของพระสารีบุตร ที่ตอบต่อคำถามของพระอุทายี  ต้องไปอ่านเอาเองนะครับ  ผมจะสรุปให้ฟังเท่านั้น

สรุป  รูป รส กลิ่น เสียงและสัมผัส ทาง ตา หู ตา จมูก ลิ้น กาย ที่เรียกว่า กามคุณ 5 เป็นตัวชักนำอารมณ์(ความรู้สึก) หรือ "กามารมณ์" มาให้เรา


อารมณ์คือกามคุณ  อารมณ์ = กามคุณ = กามารมณ์   สิ่งนี้ไม่ได้หมายถึงอารมณ์(ความรู้สึก)ทางเพศเพียงอย่างเดียวนะครับ  หมายถึงทุกอารมณ์หรือทุก Emotion เลย  ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่พึงปรารถนา เช่น อารมณ์รื่นเริง เบิกบาน ฯลฯ และอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น อิจฉาริษยา อาฆาต โกรธ ฯลฯ ก็ตาม

พระสารีบุตรจึงสรุปว่า:

"ดูกรอาวุโส...  สุขโสมนัสย่อมเกิดขึ้น เพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้ นี้เรียกว่ากามสุข"

ด้วยเหตุที่  ความรู้สึก(เวทนา)มีการแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา เราจึงเป็นสุข เป็นทุกข์ อยู่ทุกเวลานาที ไม่มีความแน่นอน  
ความไม่คงที่ หรือ ความไม่แน่นอน นั่นเอง เป็นเหตุให้เราเป็นสุขตลอดเวลาไม่ได้   แล้วความไม่คงที่ของความสุขทางโลก  ก็เนื่องจากไปอาศัยการเสพกามคุณ = ไปอาศัยการเสพความต้องการ (กิเลสตัณหา) กับสิ่งที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้นและกาย

บางคนก็บอกว่า การฝึกจิตแบบไม่ส่งออกอารมณ์ใดๆออกไป ดีที่สุด เช่น หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

วิธีการของหลวงปู่ดูลย์ สรุปได้ง่ายที่สุด คือ:

"
อย่าส่งจิตออกนอกไปเสวยอารมณ์ (เสวยอารมณ์ = เสวยความรู้สึก ซึ่งหมายถึง เสวยเวทนา)"

มีผู้เรียนถามหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่า "ท่านยังมีโกรธอยู่ไหม?"
    หลวงปู่ตอบสั้นๆว่า 
"มี  แต่ไม่เอา"   (น.๔๖๑)

อีกครั้งหนึ่ง มีผู้เรียนถามหลวงปู่เรื่องการละกิเลส "หลวงปู่ครับทำอย่างไรจึงจะตัดความโกรธให้ขาดได้"
    หลวงปู่ตอบว่า  
"ไม่มีใครตัดให้ขาดได้หรอก  มีแต่รู้ทัน... เมื่อรู้ทัน(กิเลส)มันก็ดับไปเอง." 

สภาวะที่สงบปราศจากความรู้สึก(เวทนา)ที่แปรปรวน เรียกว่า "สันติสุข" แล้วนิพพานก็เป็น สันติสุขที่แท้จริง Nirvana The True Peace

พระพุทธเจ้าตรัสว่า:

" ถูกต้องแล้วนันทะ... 
ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบที่หาได้ในตัวเรานี้เอง... ตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุขจากที่อื่นเขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลย...เมื่อเธอปล่อยวาง...มองดูโลกเป็นของว่างเปล่าเสียแล้ว...จิตก็ว่าง  ปลอดโปร่งแจ่มใสเบิกบานอยู่ดังนี้ "

0 comments:

แสดงความคิดเห็น