A A

3 มีนาคม 2558

วิเคราะห์คำว่า อสังขตธาตุ สังขตธาตุ อย่างถูกต้องกันสักทีเถอะ

choksila58: เขียนว่า..อสังขตธรรมคือปราศจากสิ่งปรุงแต่ง ปราศจากสิ่งไม่เที่ยง ปราศจากความทุกข์ มีที่พึ่งอันแน่นอน ไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย..

ตอบ

อย่าเอาสิ่งที่คุณคิดผิดๆด้วยมิจฉาทิฏฐิของคุณ  มาบอกว่าจริงๆมันเป็นอย่างนั้นซิครับ  ยกพระสูตรมาเลยดีกว่า  แล้วผมจะอธิบายให้ฟังอย่างละเอียด  เมื่อคุณไม่ยกพระสูตรมา  ผมก็ขอยกเอามาวิเคราะห์ให้ฟังแล้วกัน


อสังขตธรรมคืออะไร

ปัญหา อสังขตธรรมคืออะไร ? ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุอสังขตธรรมคืออะไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ 


1. “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอสังขตธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตธรรมเป็นอย่างไร


2. กายคตาสติ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตธรรม...สมถะและวิปัสสนา...สมาธิที่มีทั้งวิตกวิจาร สมาธิที่ไม่มีวิตกมีแต่วิจาร...สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกวิจาร สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ... สติปัฏฐาน ๔.... สัมมัปปทาน ๔.... อิทธิบาท ๔... อินทรีย์ ๕... พละ ๕.... โพชฌงค์ ๗... อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึง
อสังขตธรรม...


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสังขตธรรม.... ทางที่จะให้ถึงอสังขตธรรม เราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย....
3. นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง...เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เสียใจในภายหลัง นี้เป็นคำสอนของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ....

  อสังขตสังยุต วรรคที่ ๑ สฬา. สํ. (๖๘๔-๖๘๔)

คราวนี้ผมขอตอบและอธิบายอย่างละเอียด

1. "ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอสังขตธรรม" ....ไม่มีจุดใดที่พระพุทธเจ้าจะบอกว่า  จิตบริสุทธิ์ที่สิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ หายไปด้วย  พระพุทธองค์เพียงแต่เรียกอสังขตธาตุว่า อสังขตธรรม เท่านั้น  

สังขตธาตุ คือ ธาตุที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง
สังขตธรรม คือสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น
1. อุปฺปาโท ปญฺญายติ (ความเกิดขึ้น ปรากฏ)
2. วโย ปญฺญายติ (ความดับสลาย ปรากฏ)
3. ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ (เมื่อตั้งอยู่ ความแปรปรวนปรากฏ)


สังขตธาตุ หรือ สังขตธรรม
สิ่งนี้คือร่างกายและจิตวิญญาณ  ที่เป็นจิตสังขารของคุณ  ที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย นั่นเอง

อสงฺขต ( อันปัจจัยไม่กระทำแล้ว , ไม่ปรุงแต่งแล้ว )+ธาตุ = ธาตุอันปัจจัยไม่กระทำแล้ว ไม่ปรุงแต่งแล้ว หมายถึง นิพพานธาตุ

อสังขตธรรม
[๔๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะของอสังขตธรรม ๓
ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ
ไม่ปรากฏความเกิด ๑
ไม่ปรากฏความเสื่อม ๑
เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตลักษณะ
ของอสังขตธรรม ๓ ประการนี้แล ฯ

 พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสทิ้งคำว่า  ธาตุ ออกไปแต่อย่างใด = ยังมีสิ่งที่เป็นร่างกายและจิตวิญญาณเหมือนเดิม  เพียงแต่ตอนนี้จิตมันบริสุทธิ์ จึงไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย เท่านั้นเอง  ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เป็นจิตสังขาร  ที่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย 

2.  พระพุทธเจ้าบอกถึงการเข้าไปเป็นอสังขต  พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่า  ผู้ปฏิบัติในอสังขต  ซึ่งเป็นธาตุอย่างหนึ่ง ธาตุนั้นไม่มีอยู่นะครับ  ยังคงมีธาตุอยู่เช่นเดียวกับ สังขต  

3.  พระพุทธเจ้าตรัสชัดเจนเลยว่า  "นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง"

= อสังขตธาตุ  ธาตุคือโคนไม้ คือกาย คือรูป คือธาตุ  เรือนว่าง คือจิตบริสุทธิ์ที่ว่างจาการคิดปรุงแต่ง  เพราะความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ เป็นผู้ครอบครองธาตุนั้นอยู่  

สรุป

สังขตธาตุ คือ ธาตุ ที่เป็นมนุษย์และสัตว์ ที่เกิดแก่เจ็บตาย เพราะมีราคะ โทสะ โมหะ = จิตไม่ว่างจากการคิดปรุงแต่งด้วยกิเลสตัณหา คือ ปรุงแต่งด้วยราคะ โทสะ โมหะ

อสังขตธาตุ คือ ธาตุ ที่เป็นมนุษย์และสัตว์ เหมือนกัน  แต่ไม่เกิดแก่เจ็บตาย เพราะไม่มีราคะ โทสะ โมหะ แล้ว = จิตว่างตลอดจากการคิดปรุงแต่งด้วยกิเลสตัณหา  คือ ไม่ปรุงแต่งด้วยราคะ โทสะ โมหะแล้ว

พระพุทธเจ้าเรียกมนุษย์และสัตว์ ที่ไม่เกิดแก่เจ็บตาย ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ = จิตว่างตลอดจากการคิดปรุงแต่งด้วยกิเลสตัณหา  คือ ไม่ปรุงแต่งด้วยราคะ โทสะ โมหะแล้ว ว่าพุทธะ หรืออสังขตธาตุ หรือนิพพานธาตุ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ความกำจัดราคะ  ความกำจัดโทสะ  ความกำจัดโมหะ  นี้เป็นชื่อแห่งนิพพานธาตุ

ความสิ้นราคะ  ความสิ้นโทสะ  ความสิ้นโมหะ  นี้เรียกว่า อมตภาพ......"


ภิกขุสูตร ที่ ๒ มหา. สํ. (๓๑-๓๒)

ศาสนาอื่นเรียก มนุษย์และสัตว์ ที่ไม่เกิดแก่เจ็บตาย ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ = จิตว่างตลอดจากการคิดปรุงแต่งด้วยกิเลสตัณหา  คือ ไม่ปรุงแต่งด้วยราคะ โทสะ โมหะแล้ว ว่า:


"พระเจ้า"

พุทธทาสภิกขุกล่าวว่า:

ไกวัลยธรรม มีลักษณะเหมือนกับ พระเจ้า คือ เป็นที่ปรากฏออกมาของสิ่งทั้งปวง มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง สอดส่องเห็นไปทั่ว กว้างขวาง ไม่มีขอบเขตจำกัด เมื่อเป็นอย่างนี้ ย่อมแสดงว่า เรากำลังได้รับการอาบรด อยู่ทั่วทั้งตัว ด้วยสิ่งที่เรียกว่า "พระผู้เป็นเจ้า" หรือ "ไกวัลยธรรม".

ธาตุที่เป็นไกวัลยธรรม

ไกวัลยธรรม จัดเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ซึ่งอยู่เหนือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ เพราะ ธาตุทั้ง ๖ นี้ จัดอยู่ในพวก "สังขตธาตุ" คือ ธาตุที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง

ส่วน
ธาตุแห่งไกวัลยธรรม นั้น จัดเป็น "อสังขตธาตุ" คือ ธาตุที่ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เป็นทั้งรูปธรรม และ นามธรรม มีชื่อเรียกว่า "นิพพานธาตุ" หรือ "นิโรธธาตุ" หรือ "สุญญตธาตุ" ได้แก่ ธาตุแห่งไกวัลยธรรม นั่นเอง อันเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่ตลอดกาล

.............................................

ธาตุธรรมสูงสุดเหล่านี้ ไม่ว่าจะเรียกว่า นิโรธธาตุ หรือ นิพพานธาตุ, อมตธาตุ, ธาตุแห่งไกวัลยธรรม, ธรรมธาตุ  มันก็เป็น ธาตุแห่งความว่าง หรือ สุญญตธาตุ ทั้งนั้น  พระพุทธเจ้าตรัสว่า ธาตุธรรมสูงสุดเหล่านี้มันมีกายหรือรูปหรืออายตนะด้วย คือ อายตนะนิพพาน  ตอนหลังพระอวโลกิเตศวรตอบคำถามพระสารีบุตรชัดๆเลยว่า อายตนะนิพพาน นี้คือ "ธรรมกาย"

ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร พระอวโลกิเตศวรสอนพระสารีบุตรว่า
"ธรรมกาย ก็คือปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นสภาวธรรมแห่งพระตถาคตตรัสรู้
ก็คืออายตนะนิพพานนั้นเอง ย่อมปราศจากการมาในอดีต ฤาการไปในอนาคต แลในปรัตยุบันกาลเล่าก็ปราศจากการตั้งอยู่มั่นคง"

พระพุทธเจ้าพูดชัดๆเลยว่า "ธรรมกายอันเป็นอัตตา"  ในพระสุตตันตปิฎกเล่ม 74 หน้าที่ 571 ว่า "....หรือบารมีย่อมทำลายปฏิปักษ์อื่นจาก
 ธรรมกายอันเป็นอัตตา"

0 comments:

แสดงความคิดเห็น