A A

8 มีนาคม 2558

ที่มาของศีล 5 ที่มาของนิพพาน และ 'อารมณ์พระนิพพาน'

ผมคิดว่า... เราควรเข้าใจที่มาของศีล 5 และที่มาของนิพพานก่อน   จึงจะสอนและชี้แนะเรื่องทางลัดสู่นิพพานได้ถูกต้อง  นอกจากนี้  เราก็ต้องเข้าในคำว่า "อารมณ์พระนิพพาน" ด้วยว่าคืออะไร?
   
1... ที่มาของศีล 5. 

บาป... คือกรรมที่ทำไปด้วยเจตนาของจิต ที่เป็นอกุศล  บุญ... คือกรรมที่ทำไปด้วยเจตนาของจิต ที่เป็นกุศล  ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกกันว่า ทำบาปอกุศล  และ ทำบุญกุศล 

90% ของการทำผิดศีล 5 เป็นบาป  เพราะจิตเจตนาของผู้ทำผิดศีล 5 ส่วนใหญ่เป็นอกุศล  แต่ไม่ใช่ว่าการผิดศีล 5 ทั้งหมดนั้น  เป็นบาปแต่อย่างใดเลย   

-  ถ้าจิตเจตนาของเขาที่ผิดศีล 5 เป็นกุศล  การทำผิดศีล 5 นั้น.... นอกจากจะไม่เป็นบาปแล้ว  มันยังกลับกลายเป็น บุญใหญ่  หรือ เป็นมหากุศล ด้วย เช่น

1.. พระเวสสันดร ยกเมียและลูกให้เป็นทาส  ปากพระเวสสันดรชั่วจริงๆ  เรียกว่าโคตรปากชั่วเลย ดันยกลูก 2 คนให้เป็นทาสชูชก ยกเมียให้เป็นเมียระดับนางบำเรอ คือนางทาส คนอื่น  แต่จิตใจของพระเวสสันดรคิดเสียสละสิ่งที่รักที่สุดของตนเป็นทานให้ผู้อื่น - ยกลูกและเมีย (ซึ่งในยุคนั้นถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของพ่อ)ให้คนอื่น เพื่อตัวท่านจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้า ทั้งนี้เพื่อจะได้ช่วยโปรดสอนสรรพชีวิตทั้งปวงใน 3 ภพ ให้พันจากบ่วงทุกข์ทั้งปวง   

สิ่งที่พระเวสสันดรทำในยุคนั้น  พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เป็น "มหากุศล" เป็น "ทานบารมี"


   2.. เมียยอดรัก ไม่ยอมยื้อชีวิตยอดรักเอาไว้ ให้หมอถอดเครื่องช่วยชีวิตยอดรักออก เพราะไม่ต้องการให้ยอดรักต้องทนทรมานต่ออีกวันสองวัน  เจตนาในใจคือ ให้ยอดรักพ้นจากการทรมาน  จึงมีผลให้ยอดรักตายไวกว่าที่ควร 1-2 วัน  ไม่ต้องอยู่ทนทรมานในโลกต่อไป  เพราะเครื่องช่วยชีวิต  ไม่ใช่เครื่องมือรักษามะเร็งแต่อย่างไร  แต่เป็นเครื่องมือทรมานมนุษย์ให้ตายก็ไม่ได้  ต้องอยู่ทรมานต่อไป  การกระทำของเมียยอดรัก จึงหาใช่บาปไม่... แต่เป็นบุญใหญ่
  
   
3.. หลวงพี่เท่ง ตะโกนโกหกว่า "ตำรวจมา ตำรวจมา" เจตนาในใจเพื่อช่วยคนที่ถูกรุมกระทืบ การโกหกเช่นนั้น คนร้ายที่รุมกระทืบคนๆนั้นจึงหนีไปหมด คนๆนั้นเลยรอดตายมาได้  การโกหกของพระเท่ง นอกจากไม่บาปแล้ว ยังเป็นบุญใหญ่เช่นเดียวกัน
  
   
4.. พระภิกษุสองรูป เดินไปด้วยกัน พบหญิงตกน้ำ ... ภิกษุคนหนึ่งกระโดดลงน้ำไปช่วยแบกหญิงคนนั้นขึ้นมา เจตนาในใจของท่าน ต้องการช่วยชีวิตคน(หญิง)  แม้ว่าจะผิดวินัยสงฆ์  ท่านก็ทำ  

- เจตนาทางใจคือกรรม  ไม่ใช่เจตนาทางกายเป็นตัวกรรม   ด้วยเหตุนี้ พระรูปนี้จึงได้บุญใหญ่ ไม่ใช่ได้บาป 
  
... ภิกษุอีกคนไม่ลงไปช่วย  เจตนาในใจไม่ต้องการผิดวินัยสงฆ์  เกาะยึดคัมภีร์พระวินัยไว้แน่นเจตนาทางใจคือกรรม พระคนนี้จึงน่าจะได้บาปใหญ่  เพราะจิตไม่มีความเมตตากรุณาในใจเลย  มีแต่ความเห็นแก่ตัวเองเท่านั้น  - ไม่ต้องการให้ตนเองผิดวินัยสงฆ์   

ภิกษุองค์นี้ เมื่อ ตายห่า ตายโหงไป....น่าจะเอาพระไตรปิฎกเล่มยักษ์ให้กอด  แล้วเอาไปถ่วงน้ำให้ตาย 500 ชาติ  จะได้เข้าใจพระวินัยสงฆ์แท้จริงสักหน่อยว่า  

......พระวินัยสงฆ์แท้จริง คือ จิตต้องมีความเมตตากรุณาต่อสรรพชีวิต และไม่ยึดติดสิ่งใดในโลกไว้เลย......

   พระพุทธองค์ตรัสว่า 
ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ

ถ้าใจเป็นกุศลแล้ว  บาปนอกจากจะไม่เกิดจากการกระทำทางกายและวาจาแล้ว  แต่บุญยังเกิดขึ้นจากการผิดศีล 5 และผิดพระวินัยด้วย  เพราะเจตนาของใจเป็นตัวกำหนดบาปบุญ

  
 "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ, เจตยิตฺวา กมฺมํ กโรมิ กาเยน วาจาย มนสา"

แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย  เรากล่าวว่า  เจตนานั่นแหละเป็นกรรม  เมื่อมีเจตนาแล้ว บุคคลย่อมกระทำกรรมโดยทางกาย วาจา ใจ"

อนึ่ง  เจตนา คือ ความตั้งใจ ความมุ่งใจหมายจะทำ  เจตน์จำนงของใจ   ความจำนง ความจงใจ  กายและวาจาเป็นแค่เครื่องมือของใจเท่านั้น  หาได้เป็นตัวกำหนดบาปกรรมแต่อย่างใด

2... ที่มาของนิพพาน 

เนื่องจาก  พระพุทธองค์ตรัสว่า 
ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ และตรัสว่า  
"เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ"  
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า  เจตนาคือกรรม  ด้วยเหตุนี้  นอกจาก เจตนาของใจจะเป็นตัวกำหนดบุญบาปแล้ว  เจตนาของใจยังเป็นตัวกำหนดนิพพานด้วย

พูดให้ชัดๆเรื่องบุญ บาป และนิพพาน

บาป  =  เจตนาของใจที่เป็นอกุศล  แล้วใช้กายและวาจาก่อการตามกิเลสตัณหาในใจตน

บุญ  =  เจตนาของใจที่เป็นกุศล แล้วใช้กายและวาจาก่อการตามความคิดเสียสละช่วยเหลือ และความเมตตากรุณาในใจของตน

นิพพาน = เจตนาของใจที่ว่างเปล่าจากกิเลสตัณหา  และว่างเปล่าจากความยึดมั่นถือมั่นว่า  เรื่องราวต่างๆของโลกเป็น ตัวกู  เป็นของกู  จริงๆแล้ว...เรื่องราวต่างๆของโลกเป็นผลมาจากบาปและบุญที่มนุษย์แต่ละคนก่อไว้ ทำไว้  ในชาตินี้  และชาติก่อนๆ ส่งผลกรรม  หรือส่งวิบากกรรมดีกรรมชั่วมาให้  

*** อารมณ์นิพพานก็คือ  อารมณ์ปล่อยวาง  ปล่อยว่างจากการยึดถือสิ่งใดๆในโลก  และปล่อยว่างจากการคิดนึกปรุงแต่งในใจด้วยความโลภ  ด้วยความโกรธ  ด้วยความหลง  แต่คิดนึกปรุงแต่งด้วยความว่างจากกิเลสตัณหา  และว่างเปล่าจากความยึดถือสิ่งใดๆในโลก ***

- นคร เมือง ประเทศในโลก  เกิดจากจิตมนุษย์ที่คิดนึกปรุงแต่งสร้างมันขึ้นมา จากใจที่มีเต็มไปด้วยกิเลสตัณหา
- นคร เมือง ประเทศในพระนิพพาน  เกิดจากจิตมหาบริสุทธิ์ของพระอรหันต์ที่เป็นวิสุทธิเทพ หรือพระโพธิสัตว์อรหันต์ ที่คิดนึกปรุงแต่ง สร้างเมืองหรือนครนิพพานแห่งนั้นขึ้นมา จากใจของพระวิญญาณมหาบริสุทธิ์องค์นั้น  อันว่างจากกิเลสตัณหา

0 comments:

แสดงความคิดเห็น