A A

22 กุมภาพันธ์ 2558

สาเหตุที่ตถาคตเรียกร่างกายว่าจิต + ไม่มีใครตายจริงสักรายเดียว

คุณเสขบุคคลและชาวพุทธทั่วไปลืมไปอีกชื่อ  จึงไม่สามารถรู้ความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนได้  พระพุทธเจ้าตรัสว่า:

มหาวรรคที่ ๗
๑. อัสสุตวตาสูตรที่ ๑.....แต่
ตถาคตเรียก ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

สาเหตุที่ร่างกายของมนุษย์และสัตว์โลกเป็นจิต  เพราะว่าร่างกายมนุษย์และสัตว์โลกมีหัวสมอง และระบบประสาท ซึ่งอยู่ในทุกอวัยวะ จึงสามารถรับรู้ และคิดปรุงแต่งได้ รู้สึกได้ จำได้

หมายความว่า  ร่างกายทำหน้าที่เป็นทั้ง
1. รูปขันธ์
2. เวทนาขันธ์(รู้สึก)
3. สัญญาขันธ์(จำ)
4. สังขารขันธ์ คือ คิดปรุงแต่งจิต เช่น โลภ โกรธ หลง  
และ 5. วิญญาณขันธ์ คือ เป็นผู้ที่รับรู้สิ่งทั้งปวง ที่เกิดจาก 1.) รูปขันธ์  2.) เวทนาขันธ์ 3.) สัญญาขันธ์ 4.) สังขารขันธ์

ขันธ์ 5 หรือร่างกายเป็นจิต ก็ด้วยเหตุที่ร่างกายเป็นผู้ที่รับรู้และคิดสิ่งทั้งปวงได้(วิญญาณ) และยังรู้สึกได้(เวทนา)  จำได้ด้วย(สัญญา)  ปรุงแต่งสิ่งที่รู้ได้ด้วย(สังขาร)

สรุป

ร่างกาย = ขันธ์ 5 = นามรูป  มันมีกลไกทุกอย่างอยู่ใน รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์  ตถาคตจึงเรียก ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง

แถมให้ แต่ไม่รับคืน....กายทิพย์ หรืออาทิสมานกาย หรือวิญญาณธาตุ ที่เรียกว่า "นามกาย" ก็เป็นจิต มโน วิญญาณ เช่นกัน  เพราะเมื่อกายมนุษย์ และสัตว์ ตายไปแล้ว  มันตายไปแต่ร่างกาย  สิ่งที่ไม่ได้ตายตามร่างกายไปด้วย คือ วิญญาณธาตุ หรือจิตใต้สำนึก หรือภวังคจิต  มันจึงยังมีกลไกการสร้างรูป(ทิพย์) เวทนา สัญญา สังขาร อยู่ด้วยในตัววิญญาณธาตุนั้น

พูดง่ายๆ!  ไม่มีใครตายจริงสักรายเดียว  การตายเพียงแต่ไปเปลี่ยนร่างกายจากที่เคยใช้ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ หรือมหาภูตทั้ง ๔ เป็นกายหรือจิต  มาใช้ร่างกายที่เป็นทิพย์ ซึ่งเกิดจากบุญบาปที่ทำในโลกมนุษย์ มาใช้เป็นร่างกายและจิตในปรโลกแทนเท่านั้น  

ดังนั้น 
นามรูป(ขันธ์ 5) จึงเป็นจิตบนโลกมนุษย์  ส่วนนามกาย(กายทิพย์ หรืออาทิสมานกาย หรือวิญญาณธาตุ) เป็นจิตในปรโลก หรือในภพภูมิอื่นๆใน 31 ภพภูมิ
พระนายผู้ไม่ปฏิบัติจะไปตีความคำสอนขอพระพุทธเจ้าถูกต้องได้อย่างไร  ขนาดพระปริยัติใหญ่ๆอย่างพระธรรมปิฎกและพุทธทาสภิกขุ  พวกท่านยังตีความคำสอนของพระพุทธเจ้าผิดๆถูกๆเลย  คุณจะถามผมในเรื่องที่คุณไม่เข้าใจ  ผมก็ตอบคุณ  แต่สไตล์ของคุณ  ต้องอวดเก่ง  ข่มคนอื่น  แสดงเป็นผู้รู้ก่อน  ทั้งๆที่รู้งูๆปลาๆ หรือไม่รู้เลย

ถาม-ตอบ

พระนายเขียนด้วยสีน้ำเงินอ่อน -คุณ season เข้าใจผิด-    ผมตอบด้วยหมึกน้ำเงินเข้ม

เพราะที่ถูก คือ
นามกาย  คือ ........ จิต  และ  เจตสิก 


ถูกต้องครับ  แต่ไม่ชัดเจน  เป็นการพูดของผู้ไม่รู้จริง  จิต = จิตปภัสสรที่บริสุทธิ์ อยู่ชั้นในสุดคือ จิตชั้นที่ 18 หลวงพ่อสดเรียกว่ากายละเอียดชั้นที่ 18 หรือกายอรหันต์  ส่วน เจตสิก นั้นคือ จิตใต้สำนึก หรือภวังค์จิต  เรื่องอย่างนี้ปริยัติไม่มีทางเข้าใจ

รูปกาย  คือ ........  รูป
และ
รูปกาย ไม่ใช่  มีแค่  อทิสสมานกาย เท่านั้น
รูปกาย  มี  2 คือ
1. อทิสสมานกาย
2. สทิสสมานกาย 


รูปกาย

1. อทิสสมานกาย  = นามกาย เป็น นามธรรม  หมายถึง กายที่มองไม่เห็น, เป็นกายที่ไม่ปรากฏร่าง, เป็นกายมองไม่เห็นตัว นอกจากผู้ทำสมถะ(สมาธิ)ถึงขั้นเท่านั้น จึงจะมองเห็นได้


2. คำว่า  "สทิสสมานกาย" ผมหาในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ไม่เจอ  คุณน่าจะหมายถึงกายเนื้อที่มองด้วยตาเปล่าเห็นกระมัง 
เพราะมันมีอีกกายหนึ่งที่เรียกว่า ธรรมกาย เป็นกายของจิตมหาบริสุทธิ์ขั้นอรหันต์ ธรรมกายตัวนี้คือ "ปัญญา"

รูปกาย

อทิสสมานกาย  = นามกาย เป็น นามธรรม  หมายถึง กายที่มองไม่เห็น, เป็นกายที่ไม่ปรากฏร่าง, เป็นกายมองไม่เห็นตัว นอกจากผู้ทำสมถะ(สมาธิ)ถึงขั้นเท่านั้น จึงจะมองเห็นได้

นามกาย หมายถึงที่ประชุมของนาม  ได้แก่ จิต 89 หรือ121 เจตสิก 52  นามกายตัวนี้แหละคือ กายทิพย์ หรืออาทิสมานกาย

แต่ผมว่าคุณพระนายกำลังมั่ว  เพราะพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค   ข้อ[๔๐๓] ระบุว่า......มีนามกายกับรูปกาย
กาย ในคำว่า กาโย มี ๒ คือ นามกาย ๑ รูปกาย ๑

นามกายเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ เป็นนามด้วย เป็นนาม
กายด้วย แสดงว่า  นามกาย มีกายหรือกาโยที่เป็นนามหรือสิ่งที่มองไม่เห็นนั้นมีอยู่

และท่านกล่าวจิตสังขารว่า นี้เป็นนามกาย

รูปกายเป็นไฉน มหาภูต รูป ๔ รูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ลมอัสสาสะปัสสาสะ นิมิต และท่านกล่าวว่า
กายสังขารที่เนื่องกัน นี้เป็นรูปกาย ฯ

0 comments:

แสดงความคิดเห็น