A A

24 กุมภาพันธ์ 2558

จิตก็คือวิญญาณ จิตมีดวงเดียวที่ท่องเที่ยวไป แต่จิตมันมี 2 ชนิด

ผม:  ทีนี้ถ้าคุณไปดับจิต...ธรรมกาย และจิต...สัมโภคกายไปแล้ว  คุณก็จะได้จิตอีกประเภทที่ไม่มีกาย  เป็นจิตที่ว่างจากการปรุงแต่งทุกชนิด  จิตตัวนี้แหละคือนิพพานจิต หรือจิตหลุดพ้น หรือจิตพ้นวิเศษ
......................

dhammajak :  ไม่ใช่หรอกครับ
คุณดับนามไปแล้ว คุณเหลือวิญญาณ ที่เข้าไปรู้
ว่าพ้นวิเศษ  นั่นเป็นวิญญาณครับ  ไม่ใช่พระนิพพาน 

ตอบ

ลูกไม้เก่าๆอีกแล้วมาร  พระพุทธเจ้าตรัสเรียก นิพพานจิตว่า  จิตหลุดพ้น  คือจิตหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสว่าจิตหลุดพ้นคือ จิตดับเสียเมื่อไรล่ะ  
จิตหลุดพ้นก็คือวิญญาณบริสุทธิ์  วิญญาณบริสุทธิ์มันมี 2 ชนิด จะอธิบายให้ทราบตอนหลังสุด  อย่างไรก็ตาม  พึงรู้ว่า  มีแต่วิญญาณเท่านั้นที่จะไปรับรู้สิ่งต่างๆได้

คุณแกล้งโง่.... พยายามชักใบให้เรือเสียอยู่เรื่อย  
ย้ำ!จิตหรือวิญญาณที่ดับได้ คือจิตสังขารและวิญญาณธาตุและวิญญาณขันธ์ที่ไม่บริสุทธิ์ หรือถ้าบริสุทธิ์แล้ว  ก็ยังเป็นวิญญาณในไตรลักษณ์  ที่ยังหลีกเลี่ยงความตายไม่ได้ 

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "นิพพานคือธรรมชาติที่รู้แจ้ง"  มันชัดเจนอยู่แล้วว่า  นิพพานคือจิตหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา หรือวิญญาณมหาบริสุทธิ์ที่รู้แจ้งนั่นเอง  จิตวิญญาณสกปรก  มันจะไปรู้แจ้งได้อย่างไร
 
dhammajak : เหมือนที่คุณเคยบรรลุธรรมครั้งที่แล้ว  แล้วบอกว่า จิตมีสองดวงจ๊ะ 
แต่ผมบอกว่า มีดวงเดียว ท่องเที่ยวไป
คุณถึงได้ ปรับปรุงทฤษฎีใหม่ว่า จิตมีสองชนิดจ๊ะ

ตอบ

กรุณาเอาข้อเขียนที่คุณบอกว่า  ผมบอกว่าจิตมีดวงเดียวมาลงซิครับ  ไม่ใช่คุณไปตีความผิดๆเอาเอง แล้วบอกว่าผมพูด  จิตสังขารที่ไม่บริสุทธิ์  หรือจิตในปฏิจจสมุปบาท มันมีดวงเดียว  พอดับจิตสังขารตัวนี้ไปแล้ว  มันก็จะได้จิตมหาบริสุทธิ์ หรือจิตหลุดพ้นที่ไม่มีวันเกิด แก่ เจ็บ ตาย

เราจะแยกจิตเป็น 1 ดวงก็ได้  จะแยกเป็น 18 ดวงก็ได้ คือเป็นจิตในชั้นนรก  จิตในชั้นเปรต  จิตในชั้นเทพ พรหม ฯลฯ ชั้นสุดท้ายคือชั้นอรหันต์  แต่ถ้าผมเคยบอกว่าจิตมีดวงเดียว  ก็คือ  จิตทั้ง 18 ชั้นนั้นมันซ้อนๆกันอยู่ในจิตของคุณและผม รวมทั้งพวกเราทุกคน....ที่มีดวงเดียว

อย่างไรก็ตาม  จิตดวงเดียวนั้นเป็นจิตสังขาร หรือจิตสังขตะ เราต้องดับมันไปก่อน  จึงจะได้จิตอีกดวง ที่เป็นจิตอสังขตะ

จิตสังขารดวงเดียวของคุณ คือจิตที่ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ  จิตสังขารดวงเดียวของคุณ จิตชั้นในสุด คือ จิตที่เป็นตัวธรรม  ตัวนี้พอเราดับหรือละลายมันไป = ดับหรือละลายจิตสังขารในสังสารวัฏ  พอเราดับมันไป  ก็จะได้จิตและกายใหม่ที่เป็นอมตะนิรันดร คือ  ธรรมกาย และสัมโภคกาย ที่เป็นจิตอสังขตะ

พูดง่ายๆ  จิตมันมี 2 ชนิดครับ  

1. จิตในปฏิจจสมุปบาท คือจิตสังขาร จิตตัวนี้เป็นสังขตธาตุ เกิด แก่ เจ็บ ตายได้ จิตตัวนี้คือ อาทิสมานกาย หรือกายทิพย์ของมนุษย์  มี 18 ชั้น  ตัวนอกสุดคือ จิตของสัตว์นรก  จิตชั้นในสุดเป็นจิตชั้นอรหันต์  ที่เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ  ตัวนี้ดับได้

2. จิตในนิพพาน เป็นจิตมหาบริสุทธิ์ หรือจิตหลุดพ้น หรือจิตพ้นวิเศษ จิตตัวนี้เป็นอสังขตธาตุ ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย จิตอรหันต์ตัวนี้เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ  จิตตัวนี้ดับไม่ได้  เพราะเป็นจิตนิพพาน หรือนิพพานจิต  ดำรงอยู่ชั่วนิรันดร

- พระพุทธเจ้าพูดถึงจิต  ก็คือ จิตตัว อาทิสมานกาย หรือกายทิพย์ของมนุษย์  มี 18 ชั้น
- พระพุทธเจ้าพูดถึงนิพพาน ซึ่งเป็นธรรมชาติที่รู้แจ้ง ก็คือ นิพพานจิต หรือจิตหลุดพ้นจากสังสารวัฏ

Phonsakอ้างว่า

จิตในนิพพาน เป็นจิตมหาบริสุทธิ์ หรือจิตหลุดพ้น หรือจิตพ้นวิเศษ จิตตัวนี้เป็นอสังขตธาตุ

.....................


พระนายโต้ว่า 

ไม่ใช่   คำสั่งสอน ของ พระพุทธเจ้า
และ
ไม่มี   อยู่ใน  พระไตรปิฎก
เพราะ  ที่ถูกต้องตรงตาม พระไตรปิฎก คือ
จิต  เป็น  สังขตธาตุ
จิต  ไม่ใช่  อสังขตธาตุ 

ตอบ

มารตัวที่ 1 คือ นายธรรมจักรออกไป  มารตัวที่ 2 คือนายพระนายก็เข้ามา  แต่ตัวที่ 1 และ 2 มีสันดานเหมือนกัน  เวลาไม่รู้ ไม่ชอบถามครู  แต่ชอบใช้การอวดรู้กับครู  เดี๋ยวครูก็แสดงธรรมให้พวกมันฟังเอง

ในศาสนาพุทธเถรวาท  พระพุทธเจ้าแบ่งปรมัตถธรรมออกเป็น 4 อย่าง คือ
1.จิตปรมัตถ์ (ธรรมชาติที่รู้อารมณ์)
2.เจตสิกปรมัตถ์ (ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต)
3.รูปปรมัตถ์ (ธรรมชาติที่เสื่อมเป็นนิจ) และ
4.นิพพานปรมัตถ์ (ธรรมชาติที่พ้นจากกิเลสและขันธ์ 5)

ภาวะของปรมัตถ์ทั้ง 4 รวมอยู่ในธรรมชาติทั้งหลายทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต  แต่ปรมัตถ์ที่เป็นจิต เจตสิก และรูป   มีลักษณะประจำตัวอยู่ 3 อย่าง คือ ความไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และบังคับบัญชาไม่ได้  แต่มนุษย์ทั้งหลายเข้าใจผิดกันไปเองว่าโลกและชีวิตมีอยู่จริง (เที่ยงแท้ถาวร) เป็นสุข และมีตัวตนบงการได้

สิ่งที่มีความเที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมได้ และบังคับบัญชาได้  คือ ปรมัตถ์ที่ 4 ซึ่งคือ นิพพานปรมัตถ์ (ธรรมชาติที่พ้นจากกิเลสและขันธ์ 5) พระพุทธเจ้าตรัสว่า "นิพพานคือธรรมชาติที่รู้แจ้ง"  ธรรมชาติที่รู้ได้ก็คือ "จิต"  ด้วยเหตุนี้เท่ากับพระพุทธองค์ยืนยันว่า  มีจิตอีกชนิดหนึ่งที่รู้แจ้ง  ไม่ใช่มีแต่จิตโหลยโท่ย หรือจิตสังขารเท่านั้น

คำสอนของพระพุทธเจ้าที่สำคัญที่สุดเหนือคำสอนทั้งหมด  ก็คือ พระพุทธเจ้าสอนให้ทิ้งปรมัตถ์ที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และบังคับบัญชาไม่ได้  ต้องเกิดแก่เจ็บตายไปเรื่อยๆ  ที่พระพุทธเจ้าเรียกว่า จิต(จิต+กาย)ฝั่งนี้  เพื่อไปอยู่เป็นจิต(จิต+กาย)ฝั่งโน้น ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ซึ่งก็คือ ปรมัตถ์ที่ นิพพานปรมัตถ์ (ธรรมชาติที่พ้นจากกิเลสและขันธ์ 5)นั่นเอง

พระพุทธเจ้ายันยันด้วยว่า  นิพพานมีอายตนะนิพพาน ซึ่งแตกต่างออกไปจากอายตนะในโลก

" ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ที่ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีเลย อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็มิใช่ โลกนี้ก็มิใช่ โลกอื่นก็มิใช่ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้งสองก็มิใช่

อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวเลยซึ่งอายตนะนั้นว่าเป็นการมา เป็นการไป เป็นการยืน เป็นการจุติ เป็นการเกิด อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นั่นแลที่สุดแห่งทุกข์ "


อายตนะในโลกก็คือ ขันธ์ 5 ที่จิต(สังขาร)ซึ่งเป็นจิตที่ไม่บริสุทธิ์ในปฏิจจสมุปบาท สร้างขึ้นมา
อายตนะในนิพพานคือ ธรรมกาย

ในปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร พระอวโลกิเตศวรสอนพระสารีบุตรว่า

" ธรรมกาย ก็คือปรัชญาปารมิตาซึ่งเป็นสภาวธรรมแห่งพระตถาคตตรัสรู้
ก็คืออายตนะนิพพานนั้นเอง ย่อมปราศจากการมาในอดีต ฤาการไปในอนาคต แลในปรัตยุบันกาลเล่าก็ปราศจากการตั้งอยู่มั่นคง "

อย่างไรก็ตาม  ธรรมกายนั้น  วันๆเอาแต่เข้านิโรธ  ไม่ค่อยคุยสังสรรค์กันเท่าไร  ธรรมกายจึงต้องนิรมิตอีกกายหนึ่งขึ้นมา  มหายานเรียกว่า "สัมโภคกาย" ซึ่งเป็นกายทิพย์ที่แท้จริงของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์  กายทิพย์ตัวนี้จะไม่มีการแตกดับ  และใช้ทำกิจธรรมต่างๆได้  ศาสนาพุทธมหายานเรียกว่าพระโพธิสัตว์อรหันต์  ศาสนาอื่นเรียกว่าพระเจ้า

0 comments:

แสดงความคิดเห็น